|||

31 The Future of Apps

วันก่อนผมมีโอกาสได้คุยกับกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกเสื้อผ้าและเครื่องสำอางรายใหญ่ๆ ที่มาจากทั้งโลกของการเปิดหน้าร้านใน Facebook และกลุ่มร้านค้าในห้างใหญ่ๆแถวย่านประตูน้ำ เกี่ยวกับเรื่อง เว็บไซท์ ใหม่ที่จะ เขากำลังจะวางแผนทำกันในโลกออนไลน์ และหลังจากที่ถกกันไปถกกันมาเรื่องของโดมเดลธุรกิจในความลงตัวของประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายจะได้รับ ตั้งแต่คนขาย คนซื้อ และผู้จัดจำหน่าย อยู่ดีๆก็เกิดบททสนทนาประมาณว่า

สรุปแล้ว สิ่งที่เรากำลังจะสร้างคือเว็บไซท์หรือ?”

ใช่ เผื่อการเติบในอนาคตและรองรับฟีเจอร์ที่เราต้องการ ให้คนซื้อของได้ง่ายๆ มันจะเป็นหัวใจและหน้าร้านหลักของเรา

แล้ว Facebook ล่ะ

ก็ต้องมี เดี๋ยวคนไม่กล้าซื้อของกัน

แอปมือถือล่ะ

ก็ไม่แน่ แต่อาจจะใช้เว็บไซท์ไปก่อน

แล้วตอนแรกเราจะสร้างเว็บไซท์เลยหรือจะใช้ Facebook, Instagram, LINE กันไปก่อน

จริงๆก็ยังไม่ต้องมีในตอนแรกนะ ลองขายผ่านโซเชียลไปก่อน ต้นทุนน้อยกว่า

…แล้วสรุปเราจะเรียกโปรเจกต์นี้ว่าเว็บไซท์หรอ

ทุกวันนี้ ร้านค้า ไม่สามารถถูกจำกัดด้วยประเภทของ หน้าร้าน อีกต่อไป เพราะกลายเป็นว่าประเภทของหน้าร้านต่างๆนั้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook Page”, “Instagram”, LINE@” หรือหน้าร้านในห้างหรือตามท้องถนน หาบเร่ แผงลอย นั้นมีไว้เพื่อเข้าถึงคนต่างๆใน ทำเล นั้นๆ และมีหน้าที่และวิธีการซื้อขายที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการ ทำให้คนรู้จัก, ทำให้คนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย, หรือ “เป็นช่องทางให้คนสั่งซื้ออย่างรวดเร็วด้วยตัวเอง

เรื่องนี้เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงวิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารที่อยู่รอบตัวเรา และรูปแบบการดำเนินการของธุรกิจ Startup ต่างๆ รอบตัวเรา จากที่เคยถูกมองเป็น “แอปพลิเคชัน หรือ เว็บไซท์ แต่ทุกวันนี้กลับหาคำที่จะมาใช้เรียกมันยากขึ้นทุกที

ยกตัวอย่างเช่น Facebook

ทุกวันนี้เราสามารถเข้าถึง Facebook ได้หลากหลายวิธีมาก จากที่ในตอนแรก เราอาจจะเคยใช้ Facebook ครั้งแรกผ่านเว็บไซท์ แต่ครั้งต่อไป อาจเป็นการโหลดแอปพลิเคชันเข้ามาในโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ซึ่งทุกวันนี้ก็ได้ถูกแตกออกเป็นแอป “Facebook” ที่เป็นแอปตัวหลัก หรือ Messenger” แอปแชทของ Facebook หรือแม้กระทั่งแอป “Groups” ที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงกรุ๊ปสนทนาต่างๆใน Facebook ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากขึ้น

แต่ในบางที เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซท์ Facebook เพื่อใช้ บริการ” ของ Facebook เลยด้วยซ้ำ เห็นได้จากเวลาเรา Log In” เข้าสู่เว็บไซท์ต่างๆโดยอาศัยการใช้บัญชีของ Facebook” ส่วนตัวของเรา เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว รวมไปถึงความสะดวกในการหาหรือติดต่อเพื่อนคนอื่นๆทีเป็นเพื่อนกับเราใน Facebook หรือการอ่าน Notification” ในโทรศัพท์มือถือหรืออีเมล แล้วทำการตอบกลับในทันทีโดยไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปใช้แอปของ Facebook เองโดยตรง

เรื่องนี้จะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้นหากเราเปลี่ยนจากการเอาตัว Facebook มาเป็นตัวอย่าง แล้วมองถึงสิ่งต่างๆที่เราเสพผ่านการใช้งาน Facebook เอง

ทุกวันนี้มีพี่เพจ ที่เราอ่านข่าวจากตัว Timeline ของ Facebook เอง ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถรับข่าวสารจากไทยรัฐผ่าน Facebook โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเคยเข้าเว็บไซท์หรือซื้อหนังสือพิมพ์ของไทยรัฐเลยแม้แต่น้อย รวมไปถึงวิวัฒนาการของ Conversational Commerce” ที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เกือบทุกรายพยายามพัฒนากันอยู่ เพื่อให้เราสามารถเรียกใช้บริการต่างๆผ่านแอปแชทได้โดยตรง โดยไม่ต้องเปิดแอปตัวหลักของผู้ให้บริการนั้นๆ เช่นการเรียกรถผ่าน Uber หรือ GrabTaxi โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเปิดแอป Uber หรือ GrabTaxi ขึ้นมาสักครั้ง คล้ายๆกับเวลาเราซื้อขายสินค้าผ่าน Facebook Messenger หรือ LINE ที่เราไม่เคยที่จะต้องเข้าไปสู่เพจ หรือเว็บไซท์ของร้านค้านั้นๆ ก็สามารถที่จะทำการซื้อขายได้แล้ว

rich%20notifications.jpg

เราสามารถตอบอีเมลผ่าน Notification ของ Android ได้โดยตรง

และนี่คือเหตุผลที่ Notification” และ พื้นที่ใน Newsfeed” ของ Facebook ได้กลายเป็น พื้นที่ ทองคำชิ้นต่อไป หลังจากยุคของ ผลการค้นหา ผ่าน Google ที่ครองตลาดการโฆษณาออนไลน์ในสิบกว่าปีที่ผ่านมา

และจะเห็นได้ว่า การสร้าง แอปพลิเคชีน ให้เป็นเพียง จุดมุ่งหมาย” ในการเข้าถึงบริการต่างๆนั้นกำลังจะหายไป ในโลกที่จำนวนแอปพลิเคชันในตลาดสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่จำนวนแอปพลิเคชันที่เราใช้ต่อเดือน กลับใกล้เคียงเท่าเดิมแม้ว่าเราจะใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือมากขึ้นเรื่อยๆก็ตาม

32b%20app%20fatigue.jpg

และนี่คือเหตุผล ที่เราจะต้องเริ่มออกแบบธุรกิจในมุมมองของ ระบบ หรือ บริการ” มากกว่า หน้าร้าน ต่างๆของแต่ละอุปกรณ์หรือสถานที่ที่เราตั้งอยู่

ในโลกที่จำนวนอุปกรณ์มีจำนวนมากขึ้นทุกวัน และมีแอปติดตลาดที่คนเข้าถึงทุกวันอยู่แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด คือทำอย่างไรให้เราสามารถเข้าไปแทรกอยู่ใน พื้นที่ ต่างๆเหล่านั้น เช่น Facebook Newsfeed, Facebook Notifications, Notifications ของสมาร์ทโฟน, ห้องแชทใน Messenger, ห้องแชทใน LINE และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกับเราโดยตรงผ่านช่องทางเหล่านั้นได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องทำการดาวน์โหลดอะไรเพิ่มเติม ให้เป็นอุปสรรคในการใช้บริการธุรกิจของเรา

คงจะดีกว่าหรือไม่ หากเราสามารถจองโรงแรมได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องโหลดแอปพลิเคชีนโรงแรม หรือ จ่ายค่าใช้จ่ายประจำวัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปหาแอปพลิเคชีนหรือเว็บไซท์ต่างๆและเรียนรู้การใช้งานใหม่ตั้งแต่ต้น

32c%20facebook-m-assistant2.jpg

Facebook M” คือตัวอย่างของการให้บริการซื้อขายหรือชำระค่าบริการต่างๆผ่านการแชทกับผู้ช่วยส่วนตัวที่ Facebook พัฒนาขึ้นมาเอง

เราสามารถเห็นตัวอย่างนี้ได้ผ่าน Startup ใหม่ x.ai” ที่ให้บริการช่วย นัดประชุม” ตามตารางเวลาและสถานที่ที่สะดวกสำหรับทุกฝ่าย โดยสามารถเริ่มใช้บริการผ่านการ cc amy@x.ai ในอีเมลที่มีการพูดถึงการนัดหมายกันได้ทันที

เมื่อ x.ai” ได้รับอีเมลจากการ cc แล้ว มันจะทำการแสกนอีเมลเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลว่ามีฝ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้อง และดูว่าแต่ละฝ่ายนั้น มีช่วงเวลาและสถานที่ที่ว่างและสะดวกสำหรับแต่ละฝ่ายที่ไหน ผ่านการให้บริการในอดีต หรือการส่งเมลถามเพิ่มเติมเพื่อเก็บข้อมูล

เมื่อเสร็จแล้ว ทาง x.ai” จะทำการส่งอีเมลเพื่อเสนอเวลาและสถานที่ในการนัดหมายให้กับทุกฝ่าย เพื่อขอรับการยืนยัน และทำการลงตารางในบริการปฏิทินที่คุณใช้อยู่เป็นประจำ

ทั้งหมดนี้ ทำผ่านอีเมลที่ท่านใช้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้าไปสมัครที่ไหนให้ยุ่งยากแต่อย่างใด

xai-data-driven-nyc-november-2014-1-638.jpg

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าบริการซอฟท์แวร์การใช้งานหนักๆอย่างเช่น Spreadsheet, การเขียนแบบ, หรืองานต่างๆที่อาศัยการลงมือทำอย่างจริงจังและใช้สมาธิกับมันนั้น หรือที่มักจะเรียกกันว่าบริการที่อยู่ในหมวด Productivity” จะต้องปรับตัวเพื่อเข้าไปอยู่อาศัยในแอปพลิเคชันของคนอื่น เพราะคงจะไม่สามารถ ให้บริการได้อย่างเต็มที่มากนัก

แต่หากบริการของคุณนั้นสามารถนำเสนอผ่านการแชท หรือการกดปุ่มไม่กี่ปุ่ม หรือเกี่ยวข้องกับการข้อมูลที่สดใหม่หรือน่าสนใจ ผมเชื่อว่าอนาคตของโลกดิจิตอล มันคือ “context” ของการส่ง notification” ในที่ที่ผู้ใช้เรา ใช้เวลาอยู่” ในรูปแบบที่เขาสามารถโต้ตอบกับมัน และ แอปพลิเคชัน หรือ เว็บไซท์ ของเรา จะเป็นเพียง “หน้าร้าน ในการให้ บริการ ของแบรนด์ของเราแค่นั้นเองครับ

–-

เลอทัด ศุภดิลก

กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซลสุกิ จำกัด

www.lertad.com

Up next Pirate Metrics for Startups (AARRR) Online to Offline
Latest posts GDPR คืออะไร และส่งผลกระทบอะไรต่อธุรกิจ “Fintech” คืออะไร? ตอนที่ 1 - M-Pesa ตัวอย่างความสำเร็จของระบบการเงินดิจิตอล The New Disuptive Technologies: 2018 & Beyond การปรับกลยุทธ์ครั้งยิ่งใหญ่ ครั้งใหม่ของ Facebook Startup Tech Trends 2018 - เมื่อเทรนด์ 2017 จะแพร่หลายในปี 2018 “HQ Trivia” - The Future of TV เกมฮิตใหม่ที่อาจเป็นตัวอย่างของรายการทีวีในอนาคต Facebook Ads vs. Google Ads การต่อสู้ระหว่าง “Search” กับ “Discovery” Just Jack - Annabel’s Dilemma Bitcoin คืออะไร และทำไมมันถึงได้รับความสนใจ วิธีเริ่มต้นแบบเล็กๆของเหล่า Startup Unicorn มูลค่าพันล้าน The Fundamentals of AI - Machine Learning, Neural Network, Deep Learning - พื้นฐานแนวคิดของ “AI” ในยุคปัจจุบัน The WeChat Economy - มองเทรนด์ “Tech Startup” อนาคต จากการใช้ “WeChat” ในประเทศจีน การพลิกโฉม ”วิธีการซื้อ″ ด้วยนวัตกรรมจาก Amazon - How Amazon is Re-inventing How We Buy AliPay - เครื่องมือครองโลกของ Jack Ma ที่คุณอาจคาดไม่ถึง - Jack Ma’s Strategy to Conquer the World ทิศทางการเติบโตของ ”ห้างออนไลน์″ ในประเทศไทย - The Future of Marketplaces in Thailand Digital Transformation : จากการบริโภค Product สู่ Service Fast Growing Silicon Valley Startups 2017 - เทรนด์ Startup จาก Silicon Valley ที่จะมาแรงในปี 2017 การปฏิวัติข่าวสารจากยุค Google สู่ Facebook Status Seekers เมื่อผู้บริโภคต้องการ “สถานะ” มากยิ่งกว่า “การแก้ปัญหา” The Different Types of Conversational Commerce Online to Offline 31 The Future of Apps Pirate Metrics for Startups (AARRR) The Rise of Chat Bots E-commerce Delivery in Thailand Conversational Commerce Solar Energy Startups Facebook Thailand Startup = การเติบโตที่รวดเร็ว (Growth) Startup Investment The Future of Messaging