|||

HQ Trivia” - The Future of TV เกมฮิตใหม่ที่อาจเป็นตัวอย่างของรายการทีวีในอนาคต

ในปี คศ. 2012 ท่ามกลางการเติบโตของการดูวิดีโอออนไลน์ผ่านบริการอันดับหนึ่งอย่าง YouTube และการแข่งขันกันระหว่างโซเชียลเน็ทเวิร์คในประเทศตะวันตกอย่าง Facebook และ Twitter นาย Rus Yusupov พร้อมกับนาย Dom Hofmann และ Colin Kroll ได้มีไอเดียที่จะพัฒนาแอปพลิเคชันแนวใหม่ที่จะสามารถสร้างพฤติกรรมการสร้างและเสพเนื้อหาแนวใหม่ขึ้นมา โดยแอปพลิเคชันนี้จะเป็นทั้งโซเชียลเน็ทเวิร์คที่ให้คนแชร์และติดตามซึ่งกันและกัน เพียงแต่เนื้อหานั้นจะมีเพียงเฉพาะวิดีโอ และวิดิโอแต่ละตัวจะมีความยาวได้ไม่เกิน 6 วินาที เท่านั้น และผู้ก่อตั้งทั้งสามคนก็ได้ตัดสินใจที่จะตั้งชื่อให้กับโซเชียลเน็ตเวิร์คสำหรับวิดีโอแบบสั้นๆนี้ว่า “Vine”

ผู้ก่อตั้งทั้งสามใช้เวลา 1 ปีในการพัฒนา Vine” จนมันพร้อมที่จะได้รับการเปิดตัวในต้นปี คศ. 2013 ท่ามกลางเสียงตอบรับจากกลุ่มวัยรุ่นในสหรัฐฯอเมริกา จนมียอด 200 ล้านดาวน์โหลดภายในสิ้นปี คศ. เดียวกัน

แต่สิ่งที่ทำให้ Vine” แตกต่างจากโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ประสบความสำเร็จในลักษณะคล้ายกันและหนึ่งในเหตุผลของความสำเร็จนั้น ก็คือ Vine” ได้ถูก ควบกิจการ จากทางโซเชียลเน็ตเวิร์คยักษ์ใหญ่อย่าง Twitter” ที่เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คที่จำกัดให้คนโพสท์ได้แค่ 140 ตัวอักษร” เท่านั้นไว้ตั้งแต่ก่อนที่จะเปิดตัวไปเสียแล้วด้วยซ้ำ

และหลังจากความประสบความสำเร็จไปจนถึงจุดสูงสุดของ Vine” ที่นับเป็นหนึ่งในตัวจุดประกายกระแสการสร้างวิดีโอแบบใหม่จนถึงยุคของ Live Video” ที่ทาง Twitter เองก็ได้ไป ควบกิจการ บริษัท Periscope” มาในลักษณะคล้ายกัน และการพัฒนาบริการของตัวเองของ Facebook ในปี คศ. 2016 นั้น ในปี คศ. 2017 นี้ นาย Rus Yusupov และ Colin Kroll สองในสามผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเดิมก็ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่ที่ฮือฮาไม่แพ้กัน จนได้รับการเรียกว่าเป็นแอปพลิเคชันที่เป็นทั้งต้นแบบของ อนาคตของโทรทัศน์ และ “อนาคตของเกมมือถือ จากเว็บไซท์ The Verge และ The Outline ไปตามๆกัน

และแอปพลิเคชันตัวนี้นั้น คือแอปพลิเคชัน เกมโชว์ ภายใต้ชื่อของ HQ Trivia”

HQ “เกมโชว์ รูปแบบใหม่ จุดเชื่อมกันของ Live Video”, Mobile Gaming”, และ รายการ TV

HQ” คือแอปพลิเคชันเกมรูปแบบใหม่ที่นำเอาแนวคิดการทำเกมโชว์ที่เราคุ้นกันในโทรทัศน์มาใช้กับแอปพลิเคชัน โดยมีรูปแบบการเล่นในลักษณะของการตอบคำถาม Trivia” หรือ เกล็ดความรู้ คล้าย “เกมเศรษฐี โดยผู้ใช้จะได้รับคำถาม 12 ข้อภายในระยะเวลาข้อละ 10 วินาที และหากตอบถูกทุกข้อนั้นผู้เล่นก็จะมีสิทิได้รับรางวัลเป็นเงินจริงๆ

สิ่งที่ทำให้เกม HQ แตกต่างจากรูปแบบเกม Trivia” หรือ Quiz” นี้ก็คือผู้ที่สนใจอยากเล่นนั้น จะต้องทำการเล่นในเวลาพร้อมกันทุกๆวันคล้ายกับรายการทีวีสด ณ ช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. กับ 21.00 น. ในวันธรรมดา และ 21.00 น. เวลาเดียวในวันเสาร์อาทิตย์ ณ ประเทศสหรัฐฯ โดยผู้เล่นมีเวลาเล่นประมาณ 15 นาที พร้อมมีพิธีกรรายการคอยพากย์ต้อนรับและสร้างสีสรรค์ประกอบการตอบคำถามอยู่ทุกวัน และที่สำคัญนั้น รางวัลที่ผู้ที่สามารถตอบคำถามทั้ง 12 ข้อได้ในแต่ละการแข่งขันนั้นเป็นเงินสดจริง โดยมีมูลค่ารางวัลเฉลี่ยอยู่ที่หลักพันเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมูลค่าทั้งหมดนี้จะได้รับการกระจายไปยังผู้ชนะในจำนวนเท่าๆกัน เช่นหากในรอบนั้นมีรางวัลอยู่ที่ $1,500 เหรียญสหรัฐฯ และมีผู้ชนะในรอบนั้น 100 คน แต่ละคนก็จะได้ $100 เหรียญสหรัฐฯไปตามๆกัน

ด้วยรูปแบบการเล่นที่น่าสนใจ พร้อมสิทธิ์การได้ลุ้นรางวัลเป็นเงินสดจริงๆ ทำให้หลังจากที่ “HQ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม คศ. 2017 ที่ผ่านมา ก็ได้มีสถิติผู้เล่นกว่า 100,000 คนต่อรอบภายในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วแม้ว่าแอปพลิเคันนี้จะพึ่งมีอยู่แต่ในระบบปฏิบัติการ iOS ของ Apple ก็ตาม และหลังจากที่กองรางวัลในรอบแรกๆนั้นอยู่ที่เพียง $100 เหรียญฯสหรัฐฯ ในปัจจุบันบางรอบก็พุ่งสูงไปถึง $8,000 เหรียญฯ เลยเช่นกัน โดยรางวัลสูงสุดที่ผู้เล่น HQ” เคยได้รับนั้นอยู่ที่ $536 เหรียญสหรัฐฯ

ประสบการณ์ใหม่ ออนไลน์แต่กลับ “ไม่ On-Demand”

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของ HQ นั้นก็คือการที่ผู้เล่นทุกคนจะต้องมาเล่นกันแบบ สด” พร้อมๆกันเหมือนการรอติดตามดูรายการสดอย่าง The Mask Singer หรือ The Voice ในประเทศไทย ซึ่งเป็นการสวนกระแสการเสพสื่ออย่าง On-Demand” ของโลกดิจิตอลที่ผู้ใช้มักมีทางเลือกว่าจะสามารถเสพเมื่อไหร่ก็ได้ตามที่ตนเองสะดวก

และสิ่งที่ตามมาจากการที่ผู้เล่นทุกคนจะต้องเล่นพร้อมๆกัน ก็คือการ เล่นด้วยกัน” ผ่านกการนัดหมายนั่งหน้าจอพร้อมๆกันเพื่อมีประสบการณ์ร่วมกันคล้ายการชมภาพยนตร์ในโรงหนังหรือดูกีฬาด้วยกัน พร้อมการช่วยกันเล่นหากมีผู้เล่นใดตกรอบไปก่อนคนอื่น ทำให้เกิดการติดตามรายการต่อแม้ผู้เล่นแต่ละคนจะตกรอบไปแล้วก็ตาม

เรียกได้ว่า HQ อาจเปรียบเสมือนรูปแบบ รายการสื่อ ชนิดใหม่ ที่ผู้เล่นสามารถมีส่วนร่วมด้วยได้พร้อมๆกันทั่วโลก

ความสำเร็จที่เกิดจากการ Pivot”

ในปี คศ. 2013 หลังจากที่ Vine” ของทางผู้ก่อตั้ง HQ Trivia” ได้เปิดตัวได้ไม่นาน ทาง Instagram” เองที่ในตอนนั้นได้ตกไปอยู่ในมือของ Facebook” เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เปิดให้ผู้ใช้ของระบบตนเองอัพโหลดวิดิโอได้เช่นเดียวกัน และได้ทำการชิงส่วนแบ่งของ “Vine” กลับไป ซึ่งแม้รูปแบบวิดีโอของทั้งสองแพลตฟอร์มจะมีความแตกต่างกัน โดยทาง Vine” จะมีเอกลักษณ์ในเรื่องของเนื้อหาประเภทวิดิโอคลิปสั้นๆแบบตัดรัวๆที่ทางประเทศไทยเองก็มีการนำมาประยุกต์ใช้ แต่สุดท้ายแล้วการใช้งานของ Vine” ได้ค่อยๆตกลงอย่างต่อเนื่องในปลายปีและปีถัดๆมาพร้อมกับการหมดนิยมของเนื้อหาวิดิโอในรุปแบบนั้นๆ จนทาง Twitter” เองก็ต้องทำการประกาศยุติการให้บริการอย่างเป็นทางการไปในปีคศ. 2016

แต่หลังจากที่ทาง Twitter” ได้ประกาศปิดตัว Vine” ไปไม่นาน ทางนาย Rus Yusupov และ Colin Kroll ก็ได้ประกาศแอปพลิเคชันตัวใหม่ชื่อ Hype” ภายใต้บริษัทใหม่ของทั้งสองคน โดย Hype” นั้นเป็นเหมือนบริการที่ต่อยอดจาก Vine” ตรงที่เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คสำหรับการ “ถ่ายทอดสด หรือ Live Stream” จนผู้ก่อตั้งทั้งสองเริ่มสังเกตว่ารูปแบบรายการที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในบริการของตนเองนั้นเป็นรายการประเภทเกมโชว์ ทั้งสองจึงตัดสินใจที่จะหยุดการพัฒนาแอปพลิเคชัน Hype” ต่อแล้วหันมาพัฒนา HQ Trivia” อย่างเป็นทางการ ซึ่งการเปลี่ยนรูปแบบบริการอย่างรวดเร็วจากการปล่อยตัวแอปพลิเคชันให้คนใช้แล้วเรียนรู้อย่างรวดเร็วนี้มีศัพท์เรียกอย่างเป็นทางการในซิลิคอนวัลลีย์ว่าการ “Pivot” ที่มาจากศัพท์ในกีฬาบาสเก็ตบอลที่หมายถึงการโยกตัวเปลี่ยนทิศนั่นเอง

Fad or Future - รอพิสูจน์ HQ จะเป็นเพียง แฟชัน หรือ อนาคต

อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติที่เป็นจุดร่วมอีกหนึ่งสิ่งของทั้ง Vine”, Hype”, และ HQ Trivia” คือทั้งสามบริการนั้น ไม่มีโมเดลธุรกิจ หรือ เรียกอย่างง่ายๆว่า “ไม่สามารถสร้างรายได้ได้ ด้วยตนเอง ซึ่งในกรณีของ HQ นั้น นอกจากจะไม่สร้างรายได้แล้ว ยังแจกเงินให้กับผู้เล่นเป็นปริมาณมากขึ้นอยู่ทุกวันด้วยซ้ำ

นอกจากนี้ ด้วยรูปแบบคำถาม เกร็ดความรู้” จึงมีอุปสรรคทางเรื่องภาษาและวัฒนธรรมที่ทำให้แอปพลิเคชันนี้อาจจะไม่สามารถเป็นเกมยอดฮิตในระดับโลกได้เหมือนกับเกมอื่นๆอย่าง “Candy Crush Saga”, Clash of Clans” หรือ ROV อีกด้วย

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ด้วยรูปแบบรายการที่เป็นเหมือนเกมโชว์ จึงอาจจินตนาการได้ไม่ยากว่าทาง HQ Trivia” จะสามารถมีแบรนด์มาร่วมสปอนเซอร์รายการทั้งในรูปแบบโฆษณาเหมือนโฆษณาทีวี หรือร่วมอยู่ในคำถามคำตอบบางข้อ โดยเฉพาะเมื่อเราคำนึงถึงรายได้ที่รายการกีฬาสดอย่างอเมริกันฟุตบอลหรือบาสเก็จบอลสามารถสร้างได้ในทุกวันนี้ การที่จะเห็นแบรนด์ต่างๆอยากเข้าถึงผู้เล่นที่ให้ความสนใจในจุดๆเดียวพร้อมๆกันเป็นเวลากว่า 15 นาทีต่อรอบนั้นจึงคงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวมากนัก รวมไปถึงเป้าหมายของทางเกม ที่อยากจะมีรอบรางวัลสูงไปถึง $1,000,000 เหรียญสหรัฐฯในอนาคต

แต่จนกว่าจะถึงวันนั้น ทุกวันนี้ทาง HQ จึงอยู่ได้ โดยเงินลงทุนจาก VC หรือ Venture Capital” อย่าง Lightspeed Venture Partners ไปก่อนเท่านั้น

เรื่องเก่า เล่าใหม่สำหรับคนรุ่นใหม่ยุคดิจิตอล

ในปีคศ. 2014 ทางบริษัท Amazon” ได้ทำการควบกิจการบริษัท Twitch” ที่เรียกได้ว่าเป็น แพลตฟอร์มสำหรับการดูรายการสด อันดับหนึ่งของโลก และเป็น “แพลตฟอร์มสำหรับดูวิดีโอ อันดับสองรองจากเพียง YouTube โดย Twitch มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวตรงที่เน้นการแชร์หน้าจอ การเล่นเกม พร้อมเสียงพากย์จากผู้เล่น คล้ายกับการถ่ายทอดสดกีฬา

นาย Jeremy Liew” นักลงทุนจาก Lightspeed ที่ลงทุนใน HQ นั้น มองว่าทาง “Twitch” เอง ก็เหมือนกับเป็น ESPN หรือ Starsport” สำหรับคนยุคใหม่ที่โตมากับวิธีการเข้าถึงสื่อในรูปแบบใหม่ และทาง HQ เอง ก็เหมือนเป็นรูปแบบรายการ เกมโชว์ สำหรับคนยุคนี้เช่นกัน

ทุกรูปแบบรายการทีวี จะมีรูปแบบดิจิตอลของมันเอง

หากเป็นเช่นนั้นจริง เราคงจะเห็นแอปพลิเคชันใหม่ๆที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทำให้เราผลิตและเสพสื่อได้อย่างสดและรวดเร็วกันอีกในเร็วๆนี้อย่างแน่นอนครับ

–-

เลอทัด ศุภดิลก

กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซลสุกิ จำกัด

www.sellsuki.co.th

Up next Facebook Ads vs. Google Ads การต่อสู้ระหว่าง “Search” กับ “Discovery” Startup Tech Trends 2018 - เมื่อเทรนด์ 2017 จะแพร่หลายในปี 2018
Latest posts GDPR คืออะไร และส่งผลกระทบอะไรต่อธุรกิจ “Fintech” คืออะไร? ตอนที่ 1 - M-Pesa ตัวอย่างความสำเร็จของระบบการเงินดิจิตอล The New Disuptive Technologies: 2018 & Beyond การปรับกลยุทธ์ครั้งยิ่งใหญ่ ครั้งใหม่ของ Facebook Startup Tech Trends 2018 - เมื่อเทรนด์ 2017 จะแพร่หลายในปี 2018 “HQ Trivia” - The Future of TV เกมฮิตใหม่ที่อาจเป็นตัวอย่างของรายการทีวีในอนาคต Facebook Ads vs. Google Ads การต่อสู้ระหว่าง “Search” กับ “Discovery” Just Jack - Annabel’s Dilemma Bitcoin คืออะไร และทำไมมันถึงได้รับความสนใจ วิธีเริ่มต้นแบบเล็กๆของเหล่า Startup Unicorn มูลค่าพันล้าน The Fundamentals of AI - Machine Learning, Neural Network, Deep Learning - พื้นฐานแนวคิดของ “AI” ในยุคปัจจุบัน The WeChat Economy - มองเทรนด์ “Tech Startup” อนาคต จากการใช้ “WeChat” ในประเทศจีน การพลิกโฉม ”วิธีการซื้อ″ ด้วยนวัตกรรมจาก Amazon - How Amazon is Re-inventing How We Buy AliPay - เครื่องมือครองโลกของ Jack Ma ที่คุณอาจคาดไม่ถึง - Jack Ma’s Strategy to Conquer the World ทิศทางการเติบโตของ ”ห้างออนไลน์″ ในประเทศไทย - The Future of Marketplaces in Thailand Digital Transformation : จากการบริโภค Product สู่ Service Fast Growing Silicon Valley Startups 2017 - เทรนด์ Startup จาก Silicon Valley ที่จะมาแรงในปี 2017 การปฏิวัติข่าวสารจากยุค Google สู่ Facebook Status Seekers เมื่อผู้บริโภคต้องการ “สถานะ” มากยิ่งกว่า “การแก้ปัญหา” The Different Types of Conversational Commerce Online to Offline 31 The Future of Apps Pirate Metrics for Startups (AARRR) The Rise of Chat Bots E-commerce Delivery in Thailand Conversational Commerce Solar Energy Startups Facebook Thailand Startup = การเติบโตที่รวดเร็ว (Growth) Startup Investment The Future of Messaging