|||

[dropcap]ทุ[/dropcap]กวันกระแส Startup” กำลังมาแรง นักธุรกิจ โปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่ต่างใฝ่ฝันที่จะได้สร้างซอฟท์แวร์ตัวใหม่ที่จะไประดับโลก แต่ในฐานะคนที่ทำอยู่และเข้ามาสู่ในวงการ startup มาได้สักพัก ผมก็เริ่มรู้สึกได้ว่าบางที่เหตุผลและแรงจูงใจของคนที่จะมาทำ มันก็เหมือนกับสมัยหนึ่งที่ใครๆก็ชอบบอกว่า อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ ด้วยเหตุผลแบบว่า จะได้เป็นนายของตัวเอง

 

startup-illusionstartup-illusion

 

เหมือนคนคิดว่าการทำ Startup หรือธุรกิจของตนเองนั้นจะเป็นชีวิตที่สบาย ไร้กฏเกณฑ์ และประสบความสำเร็จ แต่แท้จริงแล้ว การที่จะทำได้สำเร็จนั้น ต้องผ่านอุปสรรคมากมาย และเปลี่ยนจาก นาย คนเดียวมาเป็นร้อย เป็นพัน เป็นล้านคน เพราะลูกค้าคุณนั่นแหละ จะเป็น นาย คนใหม่ของคุณ

 

วันก่อนไปเจอบทความจากนิตยสาร Entrepreneur ที่เขียนถึงคุณสมบัติ 10 ประการที่ทำให้คุณไม่เหมาะจะเป็น ผู้ประกอบการ ผมอ่านแล้วพอนึกถึงชีวิตตนเองและเพื่อนๆในวงการที่ฝ่าฟันกันอยู่แล้วก็เห็นด้วยทุกข้อ เลยขออนุญาตเอามาแปลและเล่าในมุมของสิ่งที่คุณจะเจอถ้าได้ลองก้าวลงมาทำในฐานะ Startup จริงๆให้ได้ลองไปคิดต่อนะครับ

 

[divider type=“thin”] 1. คุณไม่ชอบความกดดัน (You can’t stand the heat.) ถ้าจะให้พูดกันตามตรงนะครับ เด็กหลายๆคนที่อยากทำ Startup นั้นจะเป็น Geek ที่เป็นพวกคนที่ไม่ใช่คนชอบเข้าสังคม มีโลกส่วนตัว และหลีกเลี่ยงโลกภายนอก ซึ่งในหลายๆครั้งคุณสมบัติมันสื่อไปถึงการขาดประสบการณ์ในการเจอปัญหาในชีวิตจริง เพราะไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ชอบที่จะอยู่ในที่ที่คุ้นเคยและทำอะไรที่คุ้นเคย หรือที่เรียกกันว่า comfort zone” มากกว่า

 

แต่คำว่า Startup” นั้น เป็นเรื่องของการทำสิ่งใหม่ๆโดยนิยามของมันอยู่แล้ว และคุณจะต้องก้าวขึ้นมาสู่การเป็นผู้นำของทีม ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีอะไรที่ต้องทำแต่ยังไม่มีคนรับผิดชอบ หรือยังทำไม่เป็น คุณก็จะต้องทำมันเองก่อนและที่สำคัญคือคุณจะต้องฝึกการขาย การสื่อสาร และการโน้มน้าวคนให้เข้าใจสิ่งที่คุณทำหรือต้องการจะสื่อ

 

นอกเหนือจากนั้น คุณจะต้องเผชิญความไม่แน่นอนอยู่ตลอดเวลา มันไม่มีอะไรที่จะสำเร็จไปทุกอย่าง หากอะไรเกิดผิดพลาด คุณก็จะต้องนิ่งพอที่จะมองออกว่ามันเป็นเพราะกลยุทธ์คุณไม่ถูกต้อง หรือเป็นเพราะการปฏิบัติ (execution) อะไรบางอย่างที่ยังไม่ลงตัว

 

หากหัวใจของ Startup” คือการเปลี่ยนแปลง โดยนิยามแล้ว การเปลี่ยนแปลง มันคือการออกนอกจาก Comfort Zone” ของทั้งผู้ประกอบการและผู้ใช้ ดังนั้น พูดง่ายๆก็คือ คุณจะต้องทำความคุ้นเคยกับการอยู่กับสิ่งที่ไม่คุ้นเคยอยู่ตลอดเวลาครับ

 

คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคำถามว่า คุณทนความกดดันได้ไหม ไม่ใช่การนั่งจินตนาการและบอกว่า คิดว่าได้ แต่เป็นเรื่องของการนั่งคิดไตร่ตรองว่า คุณเคยผ่านนาทีที่บีบคั้น ต้องเร่งรีบ มีหลายๆฝ่ายผลักดันให้ไปในทางที่คุณไม่คาดคิด แล้วคุณผ่านมันมาได้มั้ย และจะทนที่จะผ่านมันอีกได้หรือไม่

 

เพราะถึงเวลาวิกฤติ คุณอาจไม่ได้นอน มีเรื่องมากมายต้องตัดสินใจ และเป็นผู้นำของทีม ไม่มีเวลาให้พัก เพราะไม่มีใครรอคุณ เพราะคุณเป็นเพียงบริษัทเล็กๆบริษัทหนึ่งเท่านั้นครับ

 

และหากไม่เคย…ผมขอพูดแทนก่อนเลยว่าอย่าคิดไปเองว่าทนได้ครับ ของแบบนี้ไม่ลองไม่รู้

 

Growth happens at edge of comfort zone.”

 

2. คุณอยากทำเพราะคุณอยากรวยเร็ว (You’re on the quest for quick cash.)

หนึ่งในสิ่งที่ทำให้คนหลงไหล Startup กันมากมายนั้นก็คือเรื่องราวของเหล่าผู้ประกอบการมากมายที่ประสบความสำเร็จและมีฐานะดีตั้งแต่ยังอายุไม่ถึง 35 แต่หารู้ไม่ แม้เขาจะอายุน้อย แต่กว่าเขาจะเริ่มมีชื่อเสียงและได้การยอมรับจนเรารู้จักนั้น เขาทำมันมาไม่ต่ำกว่า 5-10 ปีกันทั้งนั้น

 

แต่ที่สำคัญกว่านั้น คนที่คิดจะทำธุรกิจเพียงเพราะอยากจะรวย มักจะไม่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะเมื่อมีคู่แข่งรายใหญ่ หรือแม้ประสบความสำเร็จก็จะยังไม่มีความสุข เพราะแม้กำไรจะเป็นเรื่องสำคัญและเป็นผลของการทำธุรกิจที่สำเร็จ แต่จุหัวใจของการทำธุรกิจและระบทุนนิยม คือ 1) การแก้ปัญหาที่มีอยู่จริง ในรูปแบบที่ดีพอ ที่จะ 2) ทำให้คนยอมเสียเงินเพื่อให้คุณยังมีอยู่ในโลกใบนี้

 

ทั้งสององค์ประกอบนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจคุณอยู่รอด เพราะแม้คุณจะมีความต้องการที่จะเสกอะไรบางอย่างขึ้นมาในโลกแค่ไหนก็ตาม แต่หากมันไม่ได้มีความต้องการอยู่ในวงกว้าง ในระดับที่จะมีคนยอมใช้จ่ายเพื่อใช้มัน มันก็จะไม่สามารถเป้น ธุรกิจ ที่ยังยืนได้

You start a business to solve problems and serve others”

 

3. คุณเป็นมนุษย์ไอเดียที่อยากทำอะไรใหม่ๆตลอดเวลา (You have professional ADD (Attention Deficit Disorder).)

การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องของการไล่ล่าตามสิ่งใหม่ล่าสุดอยู่ตลอดเวลา หลายๆคนที่เก่งพอที่จะมีไอเดียตลอดเวลา กลับ 1) ไม่เก่งพอที่จะทำไอเดียให้มันสุดและสำเร็จ หรือ 2) ไม่นิ่งพอที่จะยึดติดกับไอเดียเมื่อมีปัญหา

 

อาการของคนประเภทนี้มีเยอะ ซึ่งผมเรียกว่าเป็นอาการของคนที่อีโก้สูง เพราะเป็นคนที่ เสพย์ติดไอเดียตัวเอง

 

เพราะคนแบบนี้ให้ความสำคัญกับ ไอเดีย และ ความคิด มากกว่า การทำ เหมือนกับคิดว่าคนเก่งคือคนที่คิดได้ ไม่ใช่คนทำได้ ทั้งที่หากไม่ทำจริง ก็จะไม่มีทางพิสูจน์ได้เลยว่ามันดีจริงหรือไม่ หรือบางคนก็ไม่ทำให้มันสำเร็จ เพราะลึกๆเริ่มเกิดความไม่มั่นใจว่ามันดีจริงหรือไม่ ซึ่งจะเริ่มเข้าข่ายกับอาการไม่นิ่งพอที่จะเชื่อมั่นในความคิดเดิมตัวเองเมื่อมีปัญหา ต้องคอยปรับเปลี่ยนตลอดเวลาทุกครั้งที่เจอคนไม่เห็นด้วย

 

แต่ไม่มีอะไรที่คนทุกคนต้องการหรอกครับ ขนาดยานพาหนะที่เป็นชีวิตประจำวันยังมีคนชอบรถ กระบะ มอเตอร์ไซค์ รถไฟฟ้า ต่างกันเลย

 

ยังดีที่วิธีการแก้อาการสองมันยังพอมีอยู่ในโลกนี้ นั่นก็คือการ คุย กับคนที่มีโอกาสจะมาเป็นผู้ใช้ หรือลูกค้าของคุณให้เยอะก่อนที่จะทำ หรือแม้กระทั่งตอนทำ และมันจะทำให้คุณเข้าใจลูกค้า และทิศทางไอเดียของคุณมากขึ้น ว่าปัญหาอยู่ที่ไอเดีย หรือการสื่อสาร และที่สำคัญ มันจะทำให้คุณสลัดกรอบของการยึดมั่นว่าตัวเองเก่ง ความคิดดี มาสู่การสร้างอะไรเพื่อมวลชนอย่างแท้จริง

 

If you don’t have patience and are unwilling to push through the tough times, launching a business might not be for you.”

 

[divider type=“thin”]

 

นี่เป็นเพียง 3 คุณสมบัติแรกที่จะเป็นตัวคัดว่าคุณจะเหมาะที่จะทำ Startup หรือไม่

 

ผมว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่ Tech Startup” ได้รับความสนใจ เพราะผมเชื่อว่ามันจะเป็นโอกาสที่คนไทยจะสร้างอะไรขึ้นมาที่สามารถไปไกลระดับโลกได้ แต่คนที่จะก้าวเข้ามาทำจะต้องเข้าใจก่อน ว่าจะเจออะไรบ้าง และเพียงเพราะคุณคิดว่ามันดี หรือต่อให้สิ่งที่คุณสร้างมันดีจริง ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะประสบความสำเร็จ

 

ภาพของการประกอบการมันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากคุณสนุกกับมัน ในปลายทางคุณอาจจะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้

 

แล้วครั้งหน้าจะมาต่อครับ

 

 

_บทความนี้ดัดแปลงมาจาก 10 Signs You’re Not Cut Out to Be an Entrepreneur” เขียนโดย Stephannie Vozza ในเว็บไซท์ Entrepreneur.com (http://www.entrepreneur.com/article/230471)_

คอลัมน์นี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร S+M Magazine ฉบับ กุมภาพันธ์ พศ. 2557 ภายใต้คอลัมน์ STARTUP MARKUP

Up next เหตุผลที่คุณไม่ควรทำ Startup - Part I What's Up With WhatsApp?
Latest posts GDPR คืออะไร และส่งผลกระทบอะไรต่อธุรกิจ “Fintech” คืออะไร? ตอนที่ 1 - M-Pesa ตัวอย่างความสำเร็จของระบบการเงินดิจิตอล The New Disuptive Technologies: 2018 & Beyond การปรับกลยุทธ์ครั้งยิ่งใหญ่ ครั้งใหม่ของ Facebook Startup Tech Trends 2018 - เมื่อเทรนด์ 2017 จะแพร่หลายในปี 2018 “HQ Trivia” - The Future of TV เกมฮิตใหม่ที่อาจเป็นตัวอย่างของรายการทีวีในอนาคต Facebook Ads vs. Google Ads การต่อสู้ระหว่าง “Search” กับ “Discovery” Just Jack - Annabel’s Dilemma Bitcoin คืออะไร และทำไมมันถึงได้รับความสนใจ วิธีเริ่มต้นแบบเล็กๆของเหล่า Startup Unicorn มูลค่าพันล้าน The Fundamentals of AI - Machine Learning, Neural Network, Deep Learning - พื้นฐานแนวคิดของ “AI” ในยุคปัจจุบัน The WeChat Economy - มองเทรนด์ “Tech Startup” อนาคต จากการใช้ “WeChat” ในประเทศจีน การพลิกโฉม ”วิธีการซื้อ″ ด้วยนวัตกรรมจาก Amazon - How Amazon is Re-inventing How We Buy AliPay - เครื่องมือครองโลกของ Jack Ma ที่คุณอาจคาดไม่ถึง - Jack Ma’s Strategy to Conquer the World ทิศทางการเติบโตของ ”ห้างออนไลน์″ ในประเทศไทย - The Future of Marketplaces in Thailand Digital Transformation : จากการบริโภค Product สู่ Service Fast Growing Silicon Valley Startups 2017 - เทรนด์ Startup จาก Silicon Valley ที่จะมาแรงในปี 2017 การปฏิวัติข่าวสารจากยุค Google สู่ Facebook Status Seekers เมื่อผู้บริโภคต้องการ “สถานะ” มากยิ่งกว่า “การแก้ปัญหา” The Different Types of Conversational Commerce Online to Offline 31 The Future of Apps Pirate Metrics for Startups (AARRR) The Rise of Chat Bots E-commerce Delivery in Thailand Conversational Commerce Solar Energy Startups Facebook Thailand Startup = การเติบโตที่รวดเร็ว (Growth) Startup Investment The Future of Messaging