|||

คุณเป็นหัวหน้าแบบไหน (What Kind of Boss Are You?)

ครั้งที่แล้วเราตั้งคำถามกันว่า ธุรกิจของคุณ เป็นธุรกิจแบบไหน?” แต่อีกคำถามที่เรามักจะไม่เคยถามตัวเองและมีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ “คุณเป็นเจ้านายแบบไหน

องค์กรทุกองค์กร จะมีรูปแบบการดำเนินการแบบไหน มีพนักงานลักษณะแบบใด และจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ล้วนแล้วขึ้นอยู่ลักษณะของผู้นำ ว่ามีคุณสมบัติหรือบทบาทเหมาะกับองค์กรในแต่ละช่วงเวลาของธุรกิจหรือไม่ ซึ่งคนบางคนก็จะเหมาะกับการเป็นผู้นำในแต่ละบทบาทหรือระดับชั้นขององค์กรทีต่างกันไป เราจึงมีการแบ่งคำว่า ผู้นำ ออกมาเป็นหลายประเภท ซึ่งคนหนึ่งคนบางทีก็สามารถมีความเป็นผู้นำได้ทีละหลายประเภท แล้วแต่บทบาท และทักษธเฉพาะตัวของเรา ตามที่เราจะได้มาดูกันในครั้งนี้ครับ

  1. Entrepreneur

คำว่า Entrepreneur” ที่อ่านว่า ออง - เทรอ - เปรอ - เนอร์ นั้น ในภาษาไทยมักใช้คำแปลว่า ผู้ประกอบการ แต่คำว่า Entrepreneur” นี้ จริงๆแล้วมีความหมายที่ละเอียดอ่อนกว่านั้น เพราะมันไม่ได้หมายถึงแค่ ผู้ก่อตั้ง หรือ “เจ้าของบริษัท แต่มันได้ถูกใช้ในการหมายถึง”ผู้ริเริ่ม หรือ ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลง

นักวิชาการหลายคนได้พยายามนิยามความหมายของคำว่า Entrepreneur” ไว้ในทำนองว่า “ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดสรรและบริหารทรัพยากรให้เกิดเป็นองค์กร และรับความเสี่ยง เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ ซึ่งจะเห็นได้ว่า Entrepreneur” มักจะถูกใช้เรียกเฉพาะผู้ที่เริ่มก่อตั้งธุรกิจที่มีการใช้นวัตกรรมอะไรใหม่ในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ เป็นผู้ที่ทำอะไรไม่เหมือนกับสิ่งที่คนอื่นทำอยู่ เช่น นาย Ingvar Kamprad ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท IKEA ซึ่งนำเสนอวิธีการขายเฟอร์นิเจอต์ใหม่ โดยทำเฟอร์นิเจอร์แบบเป็นชิ้นส่วนให้ผู้ซื้อนำไปต่อเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง จัดเก็บ และบริการ หรือคุณต๊อบ อิทธิพัทธ์ ผู้ที่อยู่ดีๆก็สร้างให้เกิดวงการสาหร่ายทอดสำเร็จรูปภายใต้แบรนด์ เถ้าแก่น้อย” ให้แพร่หลายทั่วประเทศไทย

ทั้งนี้ Entrepreneur” ไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้ก่อตั้งธุรกิจเท่านั้น แต่คนที่เป็นพนักงานบริษัทก็สามารถมีความเป็น Entrepreneur” ได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น คนที่กล้าตั้งคำถามกับกระบวนการทำงานของบริษัทในปัจจุบัน และคิดกระบวนการใหม่ที่ดีกว่า หรือริเริ่มคิดสินค้าหรือบริการใหม่ให้กับบริษัท ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการต้านทานสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆที่ดีขึ้นให้กับโลกนี้ทั้งนั้น

  1. Founder

คำว่า Founder” นั้นมีที่มาจากคำว่า Finder” หรือ Find” ที่หมายถึง การค้นพบ” โดยในทางธุรกิจนี้ Founder” จะหมายถึง ผู้ก่อตั้ง ของบริษัทนั่นเอง ซึ่งหลายๆครั้งจะเห็นว่า “ผู้ก่อตั้ง นั้นจะไม่ได้เป็น ผู้บริหาร หรือ CEO ของบริษัทเสมอไป แต่มักจะเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์หรือความสามารถในการสร้างสินค้าหรือธุรกิจขึ้นมาจากศูนย์ จนเมื่อธุรกิจเติบโตจนเปลี่ยนจากการล้มลุกคลุกคลานและทำตลาดไปเป็นการขยายตลาดหรือต่อสู้กับคู่แข่งใหม่ๆ บางครั้งผู้ก่อตั้งจะไม่เชี่ยวชาญหรือไม่ชอบในลักษณะงานบริหารแบบนั้น จนต้องจ้างหรือเลื่อนขั้นผู้บริหารคนอื่นๆมาเป็น CEO บริหารแทน

นอกจากความแตกต่างระหว่าง Founder” กับ ผู้บริหาร นี้แล้ว ในบางครั้งคนก็จะใช้คำว่า “Founder” กับ Entrepreneur” สลับกัน ซึ่งก็มักจะใช้กันได้เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว “Founder” ก็ต้องมีบทบาทเป็น Entrepreneur” เพื่อทำให้โปรเจกต์หรือธุรกิจตัวเองอยู่รอดได้ แต่ว่าจริงๆแล้วสองคำนี้บางทีจะใช้เรียกคนแตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่ เวลาพูดถึง Founder” แล้ว มักจะหมายถึงผู้ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างหรือค้นพบอะไรบางอย่างขึ้นมา และได้สร้างมันให้มีผู้คนได้ใช้ โดยมองภาพใหญ่สุดท้ายของสิ่งที่กำลังสร้างอยู่ มากกว่าการคอยหากำไรจากการประกอบการ ในขณะที่ Entrepreneur” จะมีความหมายเกี่ยวข้องกับการวางโครงสร้างธุรกิจตั้งแต่การพัฒนาสินค้า การทำการตลาด และการปิดการขายเพื่อสร้างกำไรเสียมากกว่าครับ

  1. Manager

Manager” นั้นแปลตรงตัวว่า ผู้จัดการ” ซึ่งคงนะเป็นบทบาทที่ท่านผู้อ่านคุ้นเคยและนึกภาพออกกันอยู่แล้ว ผู้จัดการ” คือผู้ที่มีบทบาทในการจัดสรรหรือ จัดการ ทรัพยากรที่ตัวเองมี ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ กระบวนการ คน เทคโนโลยี หรือสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้อย่างลิขสิทธิ์ เพื่อนำมาสร้างกระบวนการผลิตสินค้าและบริการที่จะมีผู้บริโภคต้องการใช้ โดยในทางวิชาการนั้นกล่าวไว้ว่า การจัดการ หรือ Management” นั้นคือกระบวนการของการ “วางแผน จัดระบบ หาคน นำคน และการควบคุมองค์กร (planning, organizing, staffing, directing, and controlling an organization) เพื่อที่จะทำให้องค์กรไปสู่จุดหมายใดจุดหมายหนึ่ง

พูดในอีกทางหนึ่ง คือ ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีการชักจูงหรือผลักดัน ดังนั้น จึงเรียกได้ว่า ผู้จัดการ คือผู้ที่เป็นผู้รวบรวมและกำหนดทิศทางให้เกิดการกระทำหรือการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง โดยทุกการกระทำและการเปลี่ยนแปลง ควรที่จะมีผลให้องค์กรสามารถก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายสุดท้ายที่ทุกคนต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกำไร หรือการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง ที่ทางผู้บริหารได้กำหนดวิสัยทัศน์เอาไว้นั่นเอง

  1. Leader

มักจะมีการถกเถียงกันบ่อยครั้งถึงความแตกต่างของ Leader” ที่แปลว่า ผู้นำ กับ “Manager” ที่แปลว่า ผู้จัดการ หากจะให้นิยามกันตอนนี้ ผมมองว่าการเป็น ผู้นำ” นั้นมักจะหมายถึงการ นำคน ในขณะที่การเป็น ผู้จัดการ นั้น มักจะหมายถึงการ จัดการงาน” ให้เสร็จ

ดังนั้นคงจะต้องบอกว่า Leader” นั้นหมายถึงผู้ที่เป็นผู้ชักจูงองค์กร ทำให้คนอื่นๆเดินตามทางที่เขาขีดไว้ ซึ่ง ผู้ที่มี ความเป็นผู้นำ นั้น มักจะสามารถชักจูงให้ผู้คนเชื่อมั่นและติดตามได้โดยไม่จำเป็นที่จะต้องรับตำแหน่งใดๆอย่างเป็นทางการได้ ด้วยความสามารถในการชี้นำ ชักจูง และให้กำลังใจให้คนต้องการทำงานให้องค์กรสำเร็จได้

ซึ่งในยุคของ knowledge worker ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าในทางปฏิบัติแล้วจะเห็นว่า ผู้นำ” อาจไม่ต้องเป็น ผู้จัดการ เสมอไป แต่ ผู้จัดการ ที่ดีนั้น ควรจะต้องเป็น ผู้นำ ที่ดีได้

  1. Executive

คำสุดท้ายของบทความครั้งนี้ เป็นคำที่มีความหมายในวงกว้างที่สุด คือ Executive” ซึ่งพจนานุกรมไทยแปลความหมายไว้ว่า ผู้บริหาร โดยคำว่า Executive” นี้มักจะใช้หมายถึงผู้บริหารระดับสูง หรือ Senior Management” ซึ่งคำว่า Executive” นั้นมาจากคำว่า Execute” ที่มีความหมายว่า การปฏิบัติ ดังนั้นคำว่า Executive” หรือ “Executive Management” จึงมักสื่อถึงผู้บริหารที่มีบทบาทต่อองค์กรสูง มีหน้าที่ในการจัดการหัวหน้าฝ่ายๆมากกว่าที่จะมาจัดการเรื่องการปฏิบัติงานประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น ใน การบริหารโครงการ (Project Management) ผู้ที่เป็น Project Manager อาจจะมีหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรและควบคุมปฏิบัติงานให้โครงการสำเร็จ แต่ Executive Project Manager อาจจะเป็นผู้ตรวจงานและอนุมัติงบให้ Project Manager นำไปใช้อีกที

ดังนั้นคำว่า Executive” จึงมีการใช้ใกล้เคียงกับการใช้คำว่า Manager” มากกว่าการใช้คำว่า Founder” หรือ Leader” ตรงที่มันเป็นคำบอก หน้าที่ มากกว่า “บทบาท หรือสิ่งที่เขาเป็นครับ

จะเห็นได้ว่า เมื่อเรามองถึงความหมายของคำต่างๆอย่างจริงจังแล้ว จะเห็นว่าการเป็นผู้นำหรือผู้บริหารธุรกิจนั้น มีหลายลักษณะและหลายบทบาท ซึ่งในช่วงธุรกิจแต่ละช่วง อาจต้องการผู้นำที่แตกต่างกัน เช่น ธุรกิจเกิดใหม่ มักจะต้องการ Founder และ Leader ที่เก่งกาจ นำให้คนเชื่อในการสร้างอะไรจากศูนย์ ในขณะที่ธุรกิจที่เติบโตแล้ว จะต้องการ Manager กับทีม Executive ที่จะทำให้องค์กรสามารถจัดการทรัพยากรของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเดินไปในทางเดียวกันให้หมด เนื่องจากมีผู้คนและทรัพยากรจำนวนมากกว่าสมัยที่ยังเป็นธุรกิจเกิดใหม่ ซึ่งสามารถนำพาชักจูงคนให้ทั่วถึงได้ง่ายกว่านั่นเองครับ จึงฝากไว้ให้คิดกันเล่นๆ ว่าตอนนี้ท่านผู้อ่าน มีหน้าที่และบทบาทในรูปแบบไหน และเป็นหน้าที่และบทบาทที่เหมาะกับตัวคุณ และ งานที่ต้องทำแล้วหรือยัง?

–-

เลอทัด ศุภดิลก

e-mail: lertad@flyingcomma.comwebsite: http://lertad.com

twitter: @lertad

Up next ผมไม่เข้าใจผู้หญิง ผู้หญิงหลายคนไม่ค่อยเข้าใจคุณค่าของตัวเอง ถ้าผู้ชายที่คุณคิดว่าคุณรักเขาทำอะไรที่หักหลังคุณ ชัยชนะที่สะใจจริงๆไม่ใช่การได้เขาคืนมา Shopsuke Demo Day ผ่านไปแล้วสำหรับรอบสุดท้ายงาน dtac Accelerate ต้องขอแสดงความยินดีกับทีม FastInFlow มากๆครับ ไม่แปลกใจเลยที่ชนะ เพราะตั้งแต่เห็นคอนเซปต์ของแอพ
Latest posts GDPR คืออะไร และส่งผลกระทบอะไรต่อธุรกิจ “Fintech” คืออะไร? ตอนที่ 1 - M-Pesa ตัวอย่างความสำเร็จของระบบการเงินดิจิตอล The New Disuptive Technologies: 2018 & Beyond การปรับกลยุทธ์ครั้งยิ่งใหญ่ ครั้งใหม่ของ Facebook Startup Tech Trends 2018 - เมื่อเทรนด์ 2017 จะแพร่หลายในปี 2018 “HQ Trivia” - The Future of TV เกมฮิตใหม่ที่อาจเป็นตัวอย่างของรายการทีวีในอนาคต Facebook Ads vs. Google Ads การต่อสู้ระหว่าง “Search” กับ “Discovery” Just Jack - Annabel’s Dilemma Bitcoin คืออะไร และทำไมมันถึงได้รับความสนใจ วิธีเริ่มต้นแบบเล็กๆของเหล่า Startup Unicorn มูลค่าพันล้าน The Fundamentals of AI - Machine Learning, Neural Network, Deep Learning - พื้นฐานแนวคิดของ “AI” ในยุคปัจจุบัน The WeChat Economy - มองเทรนด์ “Tech Startup” อนาคต จากการใช้ “WeChat” ในประเทศจีน การพลิกโฉม ”วิธีการซื้อ″ ด้วยนวัตกรรมจาก Amazon - How Amazon is Re-inventing How We Buy AliPay - เครื่องมือครองโลกของ Jack Ma ที่คุณอาจคาดไม่ถึง - Jack Ma’s Strategy to Conquer the World ทิศทางการเติบโตของ ”ห้างออนไลน์″ ในประเทศไทย - The Future of Marketplaces in Thailand Digital Transformation : จากการบริโภค Product สู่ Service Fast Growing Silicon Valley Startups 2017 - เทรนด์ Startup จาก Silicon Valley ที่จะมาแรงในปี 2017 การปฏิวัติข่าวสารจากยุค Google สู่ Facebook Status Seekers เมื่อผู้บริโภคต้องการ “สถานะ” มากยิ่งกว่า “การแก้ปัญหา” The Different Types of Conversational Commerce Online to Offline 31 The Future of Apps Pirate Metrics for Startups (AARRR) The Rise of Chat Bots E-commerce Delivery in Thailand Conversational Commerce Solar Energy Startups Facebook Thailand Startup = การเติบโตที่รวดเร็ว (Growth) Startup Investment The Future of Messaging