|||

Annoying Jargons

วันก่อนผมได้มีโอกาสอ่านบทความของนิตยสาร Forbes โดยเขาหยิบเอาเรื่องของ “Business Jargon” มาพูดในเชิงประชดและแสดงความเบื่อหน่ายต่อคำหลายคำได้ตลกขบขันพอสมควร ซึ่งแม้ว่าเขาจะยกคำต่างๆขึ้นมาตัดพ้อ แต่ผมคิดว่าหากเราศึกษาเราน่าจะได้แนวคิดใหม่ๆ หรืออย่างน้อยหากเรากำลังใช้อยู่ ก็จะได้เรียนรู้ที่จะระวังมนการใช้มากขึ้น เพราะคำหลายคำนั้นอาจมีความหมายเชิงลบโดยที่เราไม่รู้ตัว

ดังนั้นผมจึงขออนุญาติหยิบคำบางคำที่ผมคิดว่าคนไทยน่าจะพอได้ยินบ่อยหรือสามารถนำเอาใช้ได้ไม่ยากขึ้นมาพูดถึงในมุมมองของผมบ้างนะครับ

Core Competency

Core Competency นั้นหมายถึงการมีความสามารถ (Competency) หรือความ เก่ง” โดยต้องการจะสื่อถึงความเก่งความเชี่ยวชาญที่โดดเด่น หรือเป็นแกนหลัก (Core) ของบริษัทหรือบุคคลนั่นเอง เช่น เราอาจจะบอกว่า Core Competency ของบริษัท Apple นั้น คือการ Design เป็นต้น

การกล่าวถึงทักษะความเชี่ยวชาญนั้นหากคิดโดยผิวเผินนั้นไม่น่าจะเป็นแนวการคิดที่ผิดเลย แต่พอดีในแง่ของการใช้ภาษาอังกฤษแล้ว คำว่า“Competency” เฉยๆนั้นไม่ได้แปลว่า เก่ง” แต่แปลว่า ทำได้” เลยกลายเป็นความงุนงงและความรำคาญของผู้เคร่งเรื่องภาษาอังกฤษว่าเอามาใช้ผิดความหมาย

Buy-In

คำว่า Buy-In นี้ ไม่ได้หมายถึงการซื้อของ แต่หมายถึงการยอมรับและยอมทำตาม อาจจะเป็นแนวความคิดหรือกระบวนการอะไรใหม่ๆที่บริษัทต้องการจะทำซึ่งจะว่าไปจริงๆคนไทยก็ชอบใช้คำว่า “ซื้อ ในลักษณะเดียวกันเหมือนกันนะครับ ในแต่ละวันผมเองก็มักจะได้ยินคำพูดในเชิงว่า เฮ้ย ไอเดียนี้ ซื้อ!” อยู่ไม่น้อย

อย่างไรก็ตาม หากเราต้องใช้คำนี้เพื่อขอ Buy-in” จากใครบางคน เช่น หากเราตัดสินใจเปลี่ยนแผนการตลาดแล้วเดินไปหาพนักงงานหรือเพื่อนร่วมทีมว่าเขา ซื้อ” แผนใหม่เรามั้ย นั่นย่อมแปลว่าเราตัดสินใจเปลี่ยนโดยไม่ได้ปรึกษาหรือขอความเห็นเขามาก่อนดีๆนี่เอง ซึ่งหากเขามีอคติกับคุณอยู่แล้ว คำๆนี้อาจเป็นการสื่อว่าเราไม่ได้ให้คุณค่ากับเขา แล้วยังมาอยากให้เขาเห็นด้วยเพื่อให้คุณรู้สึกดีเท่านั้นเอง

Empower

Empower” นั้น แปลว่าการให้ Power” หรือ อำนาจ แก่คนใดคนหนึ่ง เช่น เรามีโปรเจกต์ที่เราต้องการให้ลูกทีมดูแลแบบมีบทบาทสูงขึ้น เราอาจบอกเขาได้ว่าเรากำลัง “Empower” เขาให้มีอำนาจการนำทีมและตัดสินใจแทนเราได้เลย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการให้อำนาจแบบนี้เป็นการให้อำนาจแบบตามครั้งคราว พนักงานที่โดนใช้คำนี้บ่อยๆก็อาจจะมองได้ว่ามีนัยความโอหังของคนพูดอยู่ เหมือนกับเป็นการพูดว่า “ฉันจะให้เธอทำสิ่งนี้นะ เป็นเรื่องสำคัญ เธอน่าจะดีใจนะ แต่จริงๆแล้วฉันก็คือผู้มีอำนาจที่แท้จริงน่ะแหละ

Corporate Values

คำว่า Value” ใน Corporate Value” นนนี้ไม่ได้หมายถึง คุณค่า ซะทีเดียว แต่จะออกไปในเชิง หลักการ หรือ คติ ความเชื่อ ของ Corporate” หรือ บริษัท” มากกว่า อย่างเช่น เราอาจจะต้องการสื่อว่า Corporate Value ของบริษัทเราคือ การรักษาสิ่งแวดล้อม การดูแลพนักงานอย่างยุติธรรม เป็นต้น

เมื่อมองในแง่นี้ ก็อาจจะพอเข้าใจได้ว่าที่ฝรั่งเจ้าของภาษาเขาหงุดหงิดกับคำนี้อาจจะเป็นเพราะมันดูไม่จริงใจ เนื่องจาก คติ ความเชื่อ นั้นเป็นสิ่งที่อยู่ในตัวมนุษย์ ที่บริหารบริษัทมากกว่า ไม่ใช่สิ่งไม่มีชีวิตอย่าง บริษัท

Scalable

คำว่า Scalable” นั้นถ้าแปลตรงตัวคงจะหมายถึงความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนขนาด ซึ่งจริงๆแล้วหมายถึงสินค้า บริการ หรือกิจกรรมที่สามารถขยายผลต่อหน่วยหรือสามารถผลิตได้โดยไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หรือมีค่าใช้เพิ่มเติมน้อยมาก ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจซอฟท์แวร์ ที่มักจะมีค่าใช้จ่ายสูงในช่งวการพัฒนา แต่สามารถแพร่กระจายไปยังผู้ช่างๆได้ง่าย โดยเฉพาะผ่านทางอินเทอร์เน็ต

คำนี้จริงๆแล้วไม่ได้มีความหมายเชิงลบอะไร เพียงแต่มันฮิตติดปากจนคนใช้มันกับสินค้า บริการ และการบริหารงานเกือบทุกประเภทเสียจนมันเสียความหมายและความสำคัญไปเสียแล้ว

Best Practice

คำนี้จะคล้ายกับคำว่า Scalable ตรงที่ว่า จริงๆมันไม่ได้ถูกใช้ผิด เพียงแต่คนรำคาญมันเพราะมันถูกใช้เยอะเกินไป

คำว่า Best Practice นั้นเริ่มฮิตมาจากแวดที่ปรึกษา (Consultants) โดยหมายถึงการทำกระบวนการทางธุรกิจที่ให้ผลลัพธ์ได้ดีที่สุด มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยมักจะมองในเชิงทั้งอุตสาหกรรม ใช้เพื่อนำเอาวิธีการที่เราทำอยู่มาเปรียบเทียบกับวิธีการที่ดีที่สุดที่มีอยู่ เพื่อพัฒนาให้วิธีการเราดียิ่งขึ้นต่อไป

Think Outside the Box

คิดนอกกรอบ คำนี้คงไม่ต้องอธิบายมากใช่มั้ยครับ เพราะคนไทยเราก็คงได้ยินกันจนเบื่อแล้วเช่นกัน ไม่แพ้กับคำว่า Synergy” เป็นคำที่ต้องการจะ “สื่อ ว่าอยากให้เราคิดสร้างสรรค์ หรือหาคำตอบในการแก้ปัญหาใหม่ๆบ้าง

คำพูดที่ใช้ค้านประโยคนี้ที่ดีที่สุดคงจะเป็นคำว่า Forget the box, just think.”

ไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับกรอบมันหรอก ขอให้คิดก็พอ

Robust

Robust นี้แปลว่า มีพลัง หรือ แข็งแรง มักจะถูกใช้เพื่อต้องการจะสื่อว่าสินค้านี้ เจ๋งมาก สามารถทำอะไรได้เยอะมาก ซึ่งพอใช้เข้าจริงๆแล้วมันคือคำที่สื่อถึงพลังแต่ไม่ได้สื่อว่ามันทำอะไรได้ คล้ายๆกับคำชมอย่าง Good” หรือ Amazing” ที่ถ้าเป็นเพื่อนลูกค้าพูดก็ดูน่าสนใจอยู่ แต่พอเจ้าของสินค้าพูดเองแล้วมันไม่ได้มีความน่าเชื่อถืออะไร และไม่ได้อธิบายว่ามันดียังไงจริงๆเลยด้วย

Giving 110%

คำว่า Giving 110%” นั้นใช้เพื่อต้องการจะสื่อว่า เราได้พยายามอย่างเต็มที่สุดๆเลย ทุ่มเทเกิน 100% ซึ่งฟังดูดีมาก เพียงแต่ว่าในหลักการของเปอร์เซนต์แล้ว มันย่อมไม่มีอะไรมากกว่า 100% เพราะฉะนั้นไม่มีใครทุ่มเทได้ 110%” ได้ มันจะมีแต่ว่า ก่อนหน้านี้ที่เขาพยายาม จริงๆแล้วเขายังไม่ได้ทำได้มากถึง 100% จริงๆก็เท่านั้นเอง

คิดแล้วก็นึกถึงเวลาเด็กๆทะเลาะกันนะครับ เราวิ่งเร็วกว่า, ไม่สิ เราวิ่งเร็วกว่า 10 เท่า, ไม่สิ เราวิ่งกว่าเธอล้านเท่า, ไม่มีทาง เราวิ่งเร็วกว่าล้านคูณจักรวาล!”

Take It To The Next Level

ประโยคที่ว่า Take it to the next level” นั้นจะถูกใช้เมื่อต้องการจะบอกว่า เราควร “ยกระดับ ให้งานหรือผลงานมันดีขึ้น ซึ่งเมื่อคนฟังได้ยินแล้วนั้น ก็จะเข้าใจแค่ว่าเราอยากทำให้มันดีขึ้น แต่ในแง่การทำงานแล้ว มันไม่ได้สื่ออะไรเป็นพิเศษ เพราะว่าไม่มีใครรู้ และไม่มีใครพูดถึงว่า ไอ้ ระดับ”ต่อไปที่จะยกไปให้ถึงเนี่ย มันหน้าตาเป็นไง อะไรคือเป้าหมายในการทำงาน หรืออะไรคือเป็นการบอกว่าเราได้ ยกระดับ แล้วจริงๆ

แม้คำศัพท์ที่กล่าวมาในบทความนี้นั้นถูกยกขึ้นมาเพราะเกิดจากความรำคาญเบื่อหน่ายแต่เราก็ต้องอย่าลืมว่าคำที่มันฮิตจนติดปากได้นั้นคงไม่ได้อยู่ๆเกิดขึ้นมา ต้องมีมูลเหตุหรือสาระอยู่เบื้องหลัง ซึ่งหากเรามองผ่านความน่ารำคาญไป ก็จะเห็นการเคลื่อนไหวทางด้านแนวคิดในการบริหารธุรกิจอยู่นั่นเอง

แม้แต่ในตัวคอลัมน์ของ Forbes เองนั้น ก็ไม่ได้แสดงความคิดลบต่อความหมายหรือแนวคิดที่แต่ละคำพูดถึงมากนัก โดยจริงๆแล้วเขาให้เหตุผลของการออกมาประนามคำเหล่านี้ว่า Jargon masks real meaning. People use it as a substitute for thinking hard and clearly.” หรือ การใช้ Jargon นั้นทำให้เราไม่ใช้ความคิดในการพูด และทำให้เไม่สามารถสื่อความหมายที่เราต้องการจริงๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น อย่าลืมว่าการใช้ Jargon นั้นไม่ใช่เรื่องผิด แต่ควรใช้ให้ถูกความหมาย และไม่ใช่คิดอะไรออกก็ใช้ซ้ำๆจนความหมายที่มีอยู่นั้นมันถูกมองข้ามไปครับ

เลอทัด ศุภดิลก

twitter: @lertad

e-mail: lertad@flyingcomma.com

–-

Up next Social Media Marketing Terms — SEO vs. SEM หลังจากที่มีผมได้อธิบายศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวกับ Social Media Marketing ไปแล้ว ปรากฏว่ามีคนให้ความสนใจถามคำถามเกี่ยวกับวงการนี้เข้ามาพอสมควรครับ "อะไรก็ได้"...(เรื่องสั้น anything) “วันนี้กินไรกันดี” “เอ ไม่รู้สิ อะไรก็ได้” “เราก็กินอะไรก็ได้ เธออยากกินอะไรอ่ะ” “ไม่รู้ดิ อะไรก็ได้” “ไม่เอาอ่ะ เอาที่เธออยากกินดิ”
Latest posts GDPR คืออะไร และส่งผลกระทบอะไรต่อธุรกิจ “Fintech” คืออะไร? ตอนที่ 1 - M-Pesa ตัวอย่างความสำเร็จของระบบการเงินดิจิตอล The New Disuptive Technologies: 2018 & Beyond การปรับกลยุทธ์ครั้งยิ่งใหญ่ ครั้งใหม่ของ Facebook Startup Tech Trends 2018 - เมื่อเทรนด์ 2017 จะแพร่หลายในปี 2018 “HQ Trivia” - The Future of TV เกมฮิตใหม่ที่อาจเป็นตัวอย่างของรายการทีวีในอนาคต Facebook Ads vs. Google Ads การต่อสู้ระหว่าง “Search” กับ “Discovery” Just Jack - Annabel’s Dilemma Bitcoin คืออะไร และทำไมมันถึงได้รับความสนใจ วิธีเริ่มต้นแบบเล็กๆของเหล่า Startup Unicorn มูลค่าพันล้าน The Fundamentals of AI - Machine Learning, Neural Network, Deep Learning - พื้นฐานแนวคิดของ “AI” ในยุคปัจจุบัน The WeChat Economy - มองเทรนด์ “Tech Startup” อนาคต จากการใช้ “WeChat” ในประเทศจีน การพลิกโฉม ”วิธีการซื้อ″ ด้วยนวัตกรรมจาก Amazon - How Amazon is Re-inventing How We Buy AliPay - เครื่องมือครองโลกของ Jack Ma ที่คุณอาจคาดไม่ถึง - Jack Ma’s Strategy to Conquer the World ทิศทางการเติบโตของ ”ห้างออนไลน์″ ในประเทศไทย - The Future of Marketplaces in Thailand Digital Transformation : จากการบริโภค Product สู่ Service Fast Growing Silicon Valley Startups 2017 - เทรนด์ Startup จาก Silicon Valley ที่จะมาแรงในปี 2017 การปฏิวัติข่าวสารจากยุค Google สู่ Facebook Status Seekers เมื่อผู้บริโภคต้องการ “สถานะ” มากยิ่งกว่า “การแก้ปัญหา” The Different Types of Conversational Commerce Online to Offline 31 The Future of Apps Pirate Metrics for Startups (AARRR) The Rise of Chat Bots E-commerce Delivery in Thailand Conversational Commerce Solar Energy Startups Facebook Thailand Startup = การเติบโตที่รวดเร็ว (Growth) Startup Investment The Future of Messaging