|||

Social Media Marketing Terms — Part 1: Facebook

ต้องยอมรับว่าทุกวันี้ โลกของ Social Media หรือ Social Networking นั้นได้กลายเป็นกระแสหลักของสังคมไปแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มจากจากกลางต่ำขึ้นไปบน เนื่องจากอิทธิพลของอินเทอร์เน็ตและการเติบโตอย่างต่อเนื่องของสมาร์ทโฟร์น ที่ทำให้ทุกคนสามารถติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคได้ย้ายเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง นักการตลาfก็จำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัว ไปอยู่ในที่ที่ผู้บริโภคของตนเองอยู่เช่นกัน ซึ่งเราก็จะเห็นกันผ่านการเติบโตของ Digital Marketing และเป็นที่แน่นอนว่าในโลกใหม่นี้ ก็มีศัพท์เทคนิคใหม่ๆที่เราจะต้องทำความเข้าใจว่าคืออะไร และจะมีความเกี่ยวข้องกับเราในทางใดเช่นกัน

ทั้งนี้ ผมจะขอใช้วิธียกตัวอย่างผ่านบริการที่ดัง โดยเริ่มต้นที่ Facebook ครับ

Facebook

Facebook นั้นได้ครองตำแหน่ง Social Media อันดับหนึ่งไปอย่างไม่มีข้อถกเถียงแล้ว เมื่อมันได้กลายเว็บไซท์ที่ทุกคนจะต้องมี account อยู่ และเข้าใช้ทุกวัน ไม่แพ้กับ Google ซึ่ง Facebook นั้น ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนสามารถทำการติดต่อกัน หรือที่เรียกกันว่า networking ได้ ซึ่งในปัจจุบัน Facebook ได้พัฒนาตัวเองให้เป็นศูนย์กลางในการบอกสิ่งที่เราสนใจหรือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ (share) ให้กับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ข่าวสาร หรือแม้กระทั่งรูปภาพของสิ่งที่ตนเองกินอยู่ในแต่ละมื้อ ซึ่งความที่คนส่วนใหญ่ใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ตไปกับการดูกิจกรรมต่างๆบน Facebook นั้นเอง ที่ทำให้ Facebook Marketing เป็นสิ่งที่นักการตลาดทุกคนจะต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Share (Facebook) — การ Share นั้นเป็นศัพท์ที่ Facebook ทำให้ฮิตขึ้นมา โดยหมายถึงการนำวิดีโอ รูป บทความ หรือข้อความต่างๆ ทั้งใน Facebook เอง และในเว็บไซท์ต่างๆนอก Facebook ที่ได้ทำการวางปุ่ม Share ไว้ มาแปะไว้เข้ามาในหน้า Facebook ของตนเอง คล้ายกับเป็นการแนะนำให้เพื่อนๆของผู้ Share ได้ลองอ่านหรือลองดูด้วยกัน

Like (Facebook) — การ กดไลค์ หรือที่ภาษาไทยได้ถูกแปลว่า ถูกใจ นั้น เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่บ่งชี้ว่า Facebook ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันแล้ว จากการที่มันได้กลายเป็นศัพท์ในชีวิตประจำวันที่บ่งบอกถึงการชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ก่อนหน้านี้ คำฮิตที่มีความหมายคล้ายกันก็คือ +1 ที่หมายถึงการให้คะแนน) โดยทุกสิ่งทุกอย่างใน Facebook นั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ข้อความ หรืออะไรก็ตามที่เรา Share ไว้ จะมีปุ่มให้กด Like” เพื่อเป็นการบ่งบอกผู้ Share ว่าเราชอบ โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งข้อความใดๆไว้แต่อย่างใด เหมือนเป็นการให้รางวัลผู้ Share ไปในตัว ซึ่งในปัจจุบัน Facebook ได้ออกปุ่ม Like ให้เว็บไซท์อื่นๆนำไปไว้ในเว็บไซท์ตัวเองได้ เพื่อให้ผู้ใช้ Facebook เข้าไปกด ซึ่งเมื่อมีการกด Like ปุ่มที่อยู่บนเว็บไซท์อื่นๆนั้น Facebook จะทำการ Share สิ่งที่ถูกกดไว้ใน Wall หรือ Timeline ของผู้กดโดยอัตโนมัติ

Timeline (Facebook) - Facebook นั้น สร้างมาบนพื้นฐานของการที่ผู้ใช้แต่ละคนจะมีหน้าหนึ่งหน้าที่เป็นของตนเองที่เราจะสามารถทำการ share รูปภาพ วิดิโอ ข้อความ หรือสิ่งต่างๆที่เราเจอในอินเทอร์เน็ตให้คนอื่นรับรู้ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ หน้าหนึ่งหน้านี้ถูกเรียกว่า Wall เพื่อเป็นการเปรียบเทียบสิ่งที่คนแต่ละคน share นั้นให้เป็นเหมือนการแปะข้อความบนกระดานของแต่ละคน

ในปี 2011 นี้ Facebook ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยทำการเปลี่ยนจาก Wall เป็น สิ่งที่เรียกว่า Timeline โดยมีลักษณะคล้ายๆ Wall เดิม แต่ว่าสามารถระบุวันและเวลาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ พร้อมเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาให้ข้อความและสื่อที่ share ไว้ให้มีความใหญ่ขึ้น และมีการนำ Application ต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมในหน้าของแต่ละคนมากขึ้น ทำให้ Facebook ของแต่ละคนคล้ายกับเป็นอัตชีวประวัติของแต่ละคนนั่นเอง

Page / Fan Page (Facebook) — ระบบของ Facebook นั้น มีพื้นฐานอยู่บนการที่คนแต่ละคนมีระบบสมาชิกและมีหน้าของตัวเอง (account) ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าสิ่งที่ตนเองได้แสดงไว้บนหน้านั้น จะสามารถถูกอ่านโดยคนที่ตัวเองไม่รู้จักได้หรือไม่ ผ่านระบบ ความเป็นเพื่อน (add “Friend”) โดยคนที่ไม่ได้เป็นเพื่อนกับผู้ใช้ จะไม่สามารถโพสท์ข้อความอะไรบนหน้าของผู้ใช้ได้ ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานของบุคคลทั่วไป เพราะเป็นการรักษาความเป็นส่วนตัวในระดับหนึ่ง (Privacy) แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับบริษัทหรือแบรนด์ต่างๆนั้น มักจะไม่ได้ต้องการความเป็นส่วนตัว แต่ต้องการให้คนทั่วไปเข้ามาติดตามและเปิดดูข้อมูลของตนเองเสียมากกว่า Facebook จึงได้สร้างระบบ Page หรือ Fan Page ขึ้นมา โดยมีหน้าตาคล้ายกับหน้าของผู้ใช้ทั่วๆไป แต่สามารถเปิดได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการขอให้เป็นเพื่อน สามารถติดตามได้โดยการกด Like ก็พอ โดยเจ้าของ Page นั้นสามารถลง Application และเกมต่างๆได้ ซึ่งเปรียบเทียบได้เหมือนกับ Website ของบริษัทหรือแบรนด์นั่นเอง

Subscribe -

ถึงแม้ว่า Facebook นั้นได้สร้างระบบ Page ไว้ให้กับบริษัทต่างๆ ไว้ แต่สำหรับหลายๆคนที่เป็นดารา celebrity นักการเมือง หรือที่เรียกได้ว่าเป็น public figure ต่างๆนั้น อาจไม่ต้อองการที่จะสร้าง Page ใหม่ขึ้นมาให้ตัวเองใช้ แต่ต้องการใช้ Facebook Account ของตนเองอย่างเดียวมากกว่า แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการรับการเป็นเพื่อนกับทุกคนที่ขอเข้ามาใน Facebook อาจด้วยเหตุผลว่ายังต้องการความเป็นส่วนตัวบางอย่างที่อยากให้เฉพาะเพื่อนที่สนิทๆเห็น หรือไม่ต้องการที่จะต้องคอยมานั่งกดรับการขอเป็นเพื่อน ทาง Facebook จึงได้ทำการสร้างระบบ Subscribe ขึ้นมา โดยเปิดให้คนทั่วไปสามารถรับข้อความและการ share ของ account ปกติของคนที่เล่น Facebook ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเพื่อนกับเขา และเจ้าของ account นั้น ก็จะสามารถกำหนดการตั้งค่าการ share ได้ ว่าสิ่งที่ตนเอง share นั้นจะให้คนทั่วไปสามารถเห็นได้ (public) หรือเฉพาะคนเป็นเพื่อนเห็นเท่านั้น

Apps — หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ Facebook ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามทั่วโลกนั้น คือเกมต่างๆที่ดึงเครือข่ายเพื่อนของเรามาใช้ประโยชน์ ซึ่งเกมต่างๆนี้เกิดขึ้นมาได้เพราะระบบ Apps หรือที่ย่อมาจาก Application นั่นเอง ซึ่งนอกจากเกมแล้ว Apps ยังสามารถถูกนำมาวางไว้ใน Page ของบริษัทและแบรนด์ต่างๆ เพื่อให้มีความสามารถเหนือไปกว่าฟังก์ชันความสามารถพื้นฐานต่างๆที่ Facebook ให้มาโดยอัตโนมัตินั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น App การสร้างตัวละครการ์ตูนของ Dtac ที่เคยทำจนทุกคนฮิตและใช้เป็นรูป Profile ของตัวเอง เป็นต้น

Facebook Coins — ระบบ Facebook Coins แม้จะยังไม่แพร่หลาย แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะมันคือระบบเงินตรา (digital currency) ที่ Facebook พยายามผลักดัน โดยสามารถนำมันไปใช้ในการเล่นเกม เพื่อซื้อของต่างๆ รวมไปถึงใช้ชำระค่าโฆษณาต่างๆที่ลงใน Facebook โดยเชื่อได้ว่า Facebook จะต้องพยายามผลักดันให้ทุกคนใช้ Facebook Coins ทั้งใน Facebook และนอก Facebook อย่างแน่นอน เพื่อครอบครองระบบการหมุนเวียนของเงินในโลกอินเทอร์เน็ต นั่นเอง

Facebook Ads — Facebook Ads นั้น ไม่ใช่ศัพท์พิเศษอะไร แต่มีความน่าสนใจตรงที่เป็นโฆษณาที่ประสบความสำเร็จสูงในแง่ของอัตราการมองและกด (click-through rate) โดยโฆษณา Facebook นั้น สามารถตั้งค่าให้ทำการ target ลูกค้าตามอายุ เพศ และความสนใจได้ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้อยู่ในระบบของ Facebook อยู่แล้ว รวมไปถึงการพัฒนาการรูปแบบการโฆษณาอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นการโฆษณาโดยใช้วิธีแสดงว่า เพื่อนของผู้ใช้นั้น ได้กด Like ไปที่หน้า Page อะไรไปบ้างแล้ว ซึ่งน่าสนใจและชวนให้ผู้บริโภคกดตามมากกว่าการแสดงโฆษณาทั่วๆไปได้อีก

เนื่องจาก Facebook นั้นได้กลายเป็นบริการที่สำคัญที่ทุกคนควรจะต้องรู้จักไปแล้ว โดยอาจเรียกได้ว่า หากจะต้องทำ digital marketing แค่ที่ใดที่หนึ่ง ควรที่จะต้องเลือก Facebook โดยในหลายกรณี การทำ Facebook Page อาจคุ้มค่ามากกว่าการทำ Website ของตนเองด้วยซ้ำ บวกกับการที่ Facebook มีระบบการทำงานที่เฉพาะทางของตนเอง ผมจึงขออนุญาติใช้คอลัมน์ทั้งคอลัมน์พูดถึง Facebook เพียงอย่างเดียวในครั้งนี้ครับ แต่ว่าครั้งหน้า ผมจะหยิบบริการอื่นๆหลายๆรายที่กำลังมาแรงมาพูดถึงอีกทีครับ

ทั้งนี้ หากท่านผู้อ่านไม่เคยใช้ Facebook เลย ศัพท์เทคนิคเหล่านี้อาจจะยังฟังดูน่าสับสนอยู่ ซึ่งหากท่านยังมีความสงสัย ผมแนะนำให้ลองสมัครบริการใช้ Facebook เพื่อทดลองดู และสามารถติดต่อผมได้เลยครับ

แล้วพบกันฉบับหน้าครับ

เลอทัด ศุภดิลก

twitter: @lertad

e-mail: lertad@flyingcomma.com

–-

Up next Supply Chain vs. Value Chain การที่จะผลิตสินค้าหรือบริการในการดำเนินธุรกิจนั้น ย่อมมีเรื่องของการจัดการกระบวนการผลิมาเกี่ยวข้อง ซึ่งเมื่อศึกษาการจัดการการผลิตนี้ Social Media Marketing Terms — Part 2: Twitter & Others จากที่ครั้งที่แล้วได้พูดถึงศัพท์การตลาดที่เกี่ยวข้องกับ Social Media โดยเน้น Social Network ที่ดังที่สุดในขณะนี้ ซึ่งก็คือ Facebook
Latest posts GDPR คืออะไร และส่งผลกระทบอะไรต่อธุรกิจ “Fintech” คืออะไร? ตอนที่ 1 - M-Pesa ตัวอย่างความสำเร็จของระบบการเงินดิจิตอล The New Disuptive Technologies: 2018 & Beyond การปรับกลยุทธ์ครั้งยิ่งใหญ่ ครั้งใหม่ของ Facebook Startup Tech Trends 2018 - เมื่อเทรนด์ 2017 จะแพร่หลายในปี 2018 “HQ Trivia” - The Future of TV เกมฮิตใหม่ที่อาจเป็นตัวอย่างของรายการทีวีในอนาคต Facebook Ads vs. Google Ads การต่อสู้ระหว่าง “Search” กับ “Discovery” Just Jack - Annabel’s Dilemma Bitcoin คืออะไร และทำไมมันถึงได้รับความสนใจ วิธีเริ่มต้นแบบเล็กๆของเหล่า Startup Unicorn มูลค่าพันล้าน The Fundamentals of AI - Machine Learning, Neural Network, Deep Learning - พื้นฐานแนวคิดของ “AI” ในยุคปัจจุบัน The WeChat Economy - มองเทรนด์ “Tech Startup” อนาคต จากการใช้ “WeChat” ในประเทศจีน การพลิกโฉม ”วิธีการซื้อ″ ด้วยนวัตกรรมจาก Amazon - How Amazon is Re-inventing How We Buy AliPay - เครื่องมือครองโลกของ Jack Ma ที่คุณอาจคาดไม่ถึง - Jack Ma’s Strategy to Conquer the World ทิศทางการเติบโตของ ”ห้างออนไลน์″ ในประเทศไทย - The Future of Marketplaces in Thailand Digital Transformation : จากการบริโภค Product สู่ Service Fast Growing Silicon Valley Startups 2017 - เทรนด์ Startup จาก Silicon Valley ที่จะมาแรงในปี 2017 การปฏิวัติข่าวสารจากยุค Google สู่ Facebook Status Seekers เมื่อผู้บริโภคต้องการ “สถานะ” มากยิ่งกว่า “การแก้ปัญหา” The Different Types of Conversational Commerce Online to Offline 31 The Future of Apps Pirate Metrics for Startups (AARRR) The Rise of Chat Bots E-commerce Delivery in Thailand Conversational Commerce Solar Energy Startups Facebook Thailand Startup = การเติบโตที่รวดเร็ว (Growth) Startup Investment The Future of Messaging