|||

Convergence vs. Synergy

สำหรับท่านที่เกาะติดเรื่องราวของธุรกิจหรือได้ทำงานอยู่ในบริษัทข้ามชาติในช่วงทศวรรษที่ผ่าน คงจะได้ยินคำว่า synergy กันจนสมองหยุดที่จะนำความหมายของคำคำนี้เมื่อเวลาเราได้ยินมันไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 ก็ยังมีคำใหม่ที่มีความหมายคล้ายคลึงกันได้โผล่ขึ้นมา ซึ่งก็คือคำว่า convergence นั้นเอง โดยถึงแม้สองคำนี้จะมีความหมายที่ดูคล้ายกัน ดูเกี่ยวข้องกับการรวมตัวเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งคู่ แต่จริงๆแล้วมันมีความแตกต่างที่เป็นนัยสำคัญที่จะส่งผลต่อแนวการคิดอยู่พอสมควร

เพื่อให้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง synergy กับ convergence ตั้งแต่ต้นนผมขอนิยามง่ายๆเลยครับว่า โดยภาพรวมแล้ว synergy เป็นมุมมองการรวมตัวของสิ่งหลายสิ่งเพื่อบรรลุหนึ่งเป้าหมายให้มีประสิทธิภาพที่มากขึ้น แต่ convergence เป็นลักษณะการที่สิ่งหนึ่งสิ่งรวมหรือสร้างความสามารถของสิ่งหลายสิ่งขึ้นมาเพื่อบรรลุเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง นั่นเอง

การนิยามแบบนี้เพื่อให้พอที่จะเห็นความแตกต่างในภาพรวม แต่จริงๆแล้วควรที่จะทำความเข้าใจแต่ละคำให้ถูกต้องมากขึ้นด้วยครับ

คำว่า synergy นั้น หมายถึง การที่สิ่งอย่างน้อยสองสิ่งขึ้นไปได้มีการทำงานด้วยและผลิตผลลัพธ์ให้มีมูลค่าได้มากกว่า ผลลัพธ์รวมจากการที่แต่ละสิ่งนั้นทำงานด้วยตนเอง หรือที่นิยมอธิบายกันด้วยตัวเลขว่า 1 + 1 = 3

ยกตัวอย่างเช่นมือกีต้าร์ต่อให้มีฝีมือดีแค่ไหน สุดท้ายเพลงที่ออกมาก็เป็นเพลงที่มีแต่เสียงกีต้าร์ เช่นเดียวกัน นักร้องที่เสียงดี แต่ถ้าไม่มีดนตรีประกอบก็จะไม่น่าฟัง หากคนสองคนนี้จับมือกันผลิตเพลงหนึ่งเพลงขึ้นมา จะก่อให้เกิดเพลงที่มีองค์ประกอบครบและไพเราะน่าฟังมากกว่าเพลงสองเพลงที่เพลงแรกมีแต่เสียงกีต้าร์และเพลงที่สองมีแต่เสียงร้อง ซึ่งแปลว่าสองคนนี้ได้รวมตัวกันและก่อให้เกิด synergy ขึ้นแล้ว

ในทางธุรกิจ หากบริษัท A ผลิตสบู่ที่มีคุณภาพ มีทีมการขายที่แข็งแกร่ง มีลูกค้าประจำอยู่ 1 แสนคน ขายสบู่ก้อนละ 10 บาท สร้างยอดขายได้ 1 ล้าน บาทต่อปี ได้ค้นพบบริษัท B ซึ่งผลิตแชมพู เป็นบริษัทใหม่พึ่งเริ่มต้นไม่นาน ทีมการขายมีไม่เยอะและไม่เก่งมากนัก แต่มีระบบบริการลูกค้าที่แน่วแน่ มีลูกค้าประจำอยู่ 3 หมื่นคน ขายแชมพูอยู่ที่ขวดละ 15 บาท สร้างยอดขายได้ 4.5 แสน บาทต่อปี ซึ่งถ้ารวมรายได้ของบริษัทสองบริษัทนี้ ก็จะเท่ากับ 1.45 ล้านบาท

ถ้าบริษัท A ทำการซื้อกิจการบริษัท B ไป เพื่อนำระบบบริการลูกค้ามาใช้ และที่สำคัญ คือนำผลิตภัณฑ์แชมพูของบริษัท B มาขายในช่องทางการขายสบู่ของบริษัท A ด้วย ในเบื้องต้น หากสมมุติว่าลูกค้าของแต่ละบริษัทนั้นไม่ซ้ำกันและลูกค้าทุกคนซื้อทั้งสบู่และแชมพู ก็จะทำให้บริษัทมีลูกค้าทั้งหมด 1.3 แสนคน ซึ่งเป็นผลจากการรวมกันของลูกค้า แต่สร้างรายได้มากถึง 3.25 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าที่ผ่านมาที่ต่างบริษัทต่างดำเนินการด้วยตนเอง

จากจุดนี้ ถ้าสังเกตุจะเห็นว่า synergy จะเป็นการพูดถึง ผลลัพธ์ ที่เกิดจากการบริหารทรัพยากรของแต่ละสิ่งที่รวมตัวกัน เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่มากกว่าการที่แต่ละสิ่งทำงานด้วยตนเองนั่นเอง

ทีนี้เมื่อเรามามองคำว่า convergence โดยความหมายแล้ว มันก็คือการรวมตัวกันในรูปแบบหนึ่งเหมือนกัน แต่จริงๆแล้ว การรวมตัวกันในรูปแบบของ convergence มันคือการรวมทักษะความสามารถหรือการทำงาน หรือก็คือการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้พัฒนาจนมีความสามารถในการทำงานได้เหมือนกับสิ่งอื่นๆได้ด้วยนั่นเอง

ตัวอย่างที่เราสามารถเห็นได้ชัดคือ smartphone เช่น iPhone หรือ Blackberry ที่ปัจจุบัน นอกจากจะเป็นโทรศัพท์ ยังสามารถใช้ถ่ายรูปได้ ส่งอีเมลล์ได้ เป็น browser เข้าสู่อินเตอร์เน็ทได้ ซึ่งหมายความว่ามันไม่ใช่แค่การทำหน้าที่เป็นโทรศัพท์อย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว

สมัยก่อน เราซื้อแสกนเนอร์เพื่อแปลงแผ่นกระดาษให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล แต่ก็ต้องซื้อเครื่องปริ้นท์เตอร์อีกหนึ่งเครื่อง ถ้าต้องการปริ้นท์แผ่นกระดาษนั้นออกมาอีกหลายๆแผ่น เป็นการทำงานของสิ่งหลายสิ่งที่ให้ผลประโยชน์มากกว่าความสามารถแต่ละสิ่งเดี่ยวๆ (synergy) แต่ปัจจุบัน เครื่องปริ้นท์เตอร์ก็มักจะมีแสกนเนอร์ภายในตัว ทำให้ซื้อเครื่องเดียวก็จบแล้ว (convergence)

อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดต่อดีๆ การ convergence อาจจะก่อให้เกิดการ synergy ของความสามารถ หรือไม่ก่อให้เกิดก็ได้

จากตัวอย่างข้างตน ในแง่ของความสะดวก การ convergence จะทำให้เกิด synergy ขึ้น เพราะว่าเรามีแค่เครื่องเดียวก็สามารถทำงานได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเรามองในแง่ของผลลัพธ์คือได้แผ่นกระดาษในรูปแบบดิจิตอลพร้อมกับแผ่นก๊อปปี้อีกหลายแผ่น จะ convergence หรือไม่ convergence มันก็ให้ผลลัพธ์เหมือนกัน

จากจุดสังเกตุนี้ ผมขออนุญาติทิ้งท้ายข้อสังเกตุอย่างหนึ่งในการใช้คำว่า synergy ในเชิงธุรกิจที่ทุกวันนี้เราก็มักจะเห็นกันอยู่บ่อยนัก

เรามักจะพบคำว่า synergy ในสถานการณ์ที่เกิดการควบรวมแผนกหรือบริษัทขึ้น โดยผู้บริหารอ้างว่าจะทำให้เกิด synergy และเกิดการ win-win ของทุกฝ่าย แต่ในหลายๆครั้งมันอาจจะเป็นแค่การ convergence ที่ไม่ได้ก่อให้เกิด ผลลัพธ์ที่เป็น synergy อย่างเห็นได้ชัดก็ได้ เช่น สมมุติบริษัทบันเทิงยักษ์ใหญ่ทำการซื้อกิจการบริษัทผลิตซอฟท์แวร์ผู้พัฒนา mobile application แห่งหนึ่ง เขาอาจจะบอกว่ามันเป็นการสร้าง synergy เพื่อให้มีการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสื่อบันเทิงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่จริงๆแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นก็แค่การเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพราะต่อให้ไม่เกิดการควบรวมกิจการ บริษัทบันเทิงก็อาจจะทำการจำหน่ายสื่อบันเทิงผ่านผลิตภัณฑ์ของบริษัทซอฟท์แวร์อยู่ดี

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มันก็เป็นเพียงความถูกผิดของการใช้คำครับ สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือการที่เราเข้าใจแนวความคิด และเหตุผลว่าทำไมแนวความคิดนั้นได้รับความนิยมและมีการพูดถึงมากขึ้นทุกวัน

หวังว่าถ้าคิดแบบนี้แล้ว คงจะได้สาระเพิ่มขึ้นยิ่งกว่าแค่ความหมายของคำสองคำนะครับ

  • เลอทัด ศุภดิลก

  • twitter: @lertom

  • website: http://www.blocktheworld.com

Up next Angel Investment ความหมายของการทำธุรกิจนั้น โดยเฉพาะในระยะแรกเริ่มก่อตั้ง Innovation to Iteration 7 Innovation to Iteration ทุกวันนี้ ผมคิดว่าคงจะไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินคำว่า “Innovation” หรือ “นวัตกรรม” ใช่มั้ยครับ
Latest posts GDPR คืออะไร และส่งผลกระทบอะไรต่อธุรกิจ “Fintech” คืออะไร? ตอนที่ 1 - M-Pesa ตัวอย่างความสำเร็จของระบบการเงินดิจิตอล The New Disuptive Technologies: 2018 & Beyond การปรับกลยุทธ์ครั้งยิ่งใหญ่ ครั้งใหม่ของ Facebook Startup Tech Trends 2018 - เมื่อเทรนด์ 2017 จะแพร่หลายในปี 2018 “HQ Trivia” - The Future of TV เกมฮิตใหม่ที่อาจเป็นตัวอย่างของรายการทีวีในอนาคต Facebook Ads vs. Google Ads การต่อสู้ระหว่าง “Search” กับ “Discovery” Just Jack - Annabel’s Dilemma Bitcoin คืออะไร และทำไมมันถึงได้รับความสนใจ วิธีเริ่มต้นแบบเล็กๆของเหล่า Startup Unicorn มูลค่าพันล้าน The Fundamentals of AI - Machine Learning, Neural Network, Deep Learning - พื้นฐานแนวคิดของ “AI” ในยุคปัจจุบัน The WeChat Economy - มองเทรนด์ “Tech Startup” อนาคต จากการใช้ “WeChat” ในประเทศจีน การพลิกโฉม ”วิธีการซื้อ″ ด้วยนวัตกรรมจาก Amazon - How Amazon is Re-inventing How We Buy AliPay - เครื่องมือครองโลกของ Jack Ma ที่คุณอาจคาดไม่ถึง - Jack Ma’s Strategy to Conquer the World ทิศทางการเติบโตของ ”ห้างออนไลน์″ ในประเทศไทย - The Future of Marketplaces in Thailand Digital Transformation : จากการบริโภค Product สู่ Service Fast Growing Silicon Valley Startups 2017 - เทรนด์ Startup จาก Silicon Valley ที่จะมาแรงในปี 2017 การปฏิวัติข่าวสารจากยุค Google สู่ Facebook Status Seekers เมื่อผู้บริโภคต้องการ “สถานะ” มากยิ่งกว่า “การแก้ปัญหา” The Different Types of Conversational Commerce Online to Offline 31 The Future of Apps Pirate Metrics for Startups (AARRR) The Rise of Chat Bots E-commerce Delivery in Thailand Conversational Commerce Solar Energy Startups Facebook Thailand Startup = การเติบโตที่รวดเร็ว (Growth) Startup Investment The Future of Messaging