|||

16. Uber for X”: กำเนิดยุค On-Demand Products & Services ผ่าน Mobile App

หนึ่งในบริษัท Startup ที่ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาลในช่วงปีที่ผ่านมา คงจะหนีไม่พ้น “Uber” บริษัทที่ให้บริการ เรียกรถโดยสารผ่านแอพฯ คล้ายๆกับการเรียกรถแท็กซี่ เพียงแต่รถที่ให้บริการจะเป็นรถของ Uber เอง ที่ปัจจุบันขยายตัวไปแล้วกว่า 55 ประเทศใน 6 ทวีปทั่วโลก พร้อมระดมทุนกว่า $2,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อต้นปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งคาดการณ์กันว่าการระดมทุลรอบนี้ได้ส่งมูลค่าบริษัทไปอยู่ที่ประมาณว่า $40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯไปแล้วโดยเรียบร้อย

เหตุผลที่ Uber เติบโตและถูกตีให้รับมูลค่าสูงขนาดนี้ เพราะนอกเหนือจากบริการ “รถโดยสาร แล้ว Uber ได้เริ่มทดลองและพิสูจน์แล้วว่าสิ่งที่ตนเองมีอยู่นั้นไม่ใช่เป็นเพียงบริการเรียกรถเหมือนแท็กซี่ แต่เป็น “ระบบการขนส่ง หรือ โลจิสติกส์ แบบ On-Demand” ที่สามารถนำส่งสินค้าหรือบริการอะไรก็ได้ไปให้ผู้เรียกที่ต้องการ ภายในเวลาที่รวดเร็ว ผ่านการกดไม่กี่ครั้งในแอพฯมือถือที่อยู่ในมือของทุกคน

Uber ได้เคยทดลองส่งสินค้าที่หลากหลายมากผ่านแคมเปญพิเศษต่างๆ ตั้งแต่การส่งไอศครีม ดอกไม้ หรือ ต้นคริสมาสต์ผ่านรถบริการของ Uber ตามช่วงเทศกาลต่างๆ ไปจนถึงการจัดพิธีแต่งงานโดยคนที่กดปุ่มขอใช้บริการจะถูกรถ Uber ไปรับเพื่อพาไปยังสถานที่จัดพิธีที่ทางบริษัทเตรียมไว้ให้ และขับนำพากลับบ้านพร้อมป้ายทะเบียน “Just Married” เหมือนในภาพยนตร์ ไปยังบริการพิเศษ Uber Helicopter” ที่เปลี่ยนบริการจากการเรียกรถมาเป็นเรียกเฮลิคอปเตอร์แทน

หากมองไปถึง ปัญหา”ที่ Uber ได้เข้ามาตอบ หรือ คุณค่า ที่ Uber ได้สร้างในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้วนั้น มันไม่ใช่บริการเรียกรถโดยสารหรือแท็กซี่ที่ดีกว่า แต่มันคือกสร้าง ประสิทธิภาพ ในระบบ ด้วยการนำรถยนตร์ ซึ่งเป็นสิ่งของราคาแพง มาปล่อย “เช่า ให้คนใช้เฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น (“On Demand”) ทำให้คนทั่วไปไม่ต้องลงทุนซื้อรถยนตร์เป็นของตนเอง ก็สามารถโดยสารได้ในทุกนาทีที่ต้องการได้

ซึ่งความสำเร็จของ Uber นี้ เลยกลายเป็นการพิสูจน์ว่าตลาดพร้อมแล้วที่จะใช้บริการการสั่งสินค้าและบริการแบบ On-Demand” และก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์การก่อตั้งบริษัท Tech Startup จำนวนมากที่หันมามองธุรกิจประเภทต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าจะสามารถทำให้มัน ง่ายขึ้น และ “เร็วขึ้น สำหรับผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง เหมือนกับที่ Uber ได้ทำกับ ระบบการขนส่ง ไปแล้ว ซึ่งบริษัท Startup เหล่านี้ เลยมักจะถูกเรียกอธิบายให้เข้าใจได้รวดเร็วว่า Uber” for X” โดย X” หมายถึงวงการธุรกิจอื่นๆนอกเหนือการเรียกรถโดยสารนั่นเอง

Macintosh HD:Users:lertad:Dropbox (Flyingcomma):My Briefcase:SM Magazine:Startup Markup:16 - Uber for X.png

รูปภาพจาก startupdope.com

ยกตัวอย่างเช่น Push for Pizza” หรือ Uber” for Pizza” ที่เปิดตัวด้วยวิดีโอกวนๆของกลุ่มผู้ก่อตั้งวัยรุ่นที่ประกาศกร้าวว่าแอพของตนนั้นคือวิธีการเรียกพิซซ่าที่ “ง่าย” และ เร็วที่สุด เพราะเพียงแค่กดปุ่มในหน้าจอแรกปุ่มเดียว ก็จะสามารถได้พิซซ่ามาส่งถึงได้ในทันที เพราะระบบได้จำเรื่องการชำระเงิน และหน้าพิซซ่าที่ชอบไว้หมดแล้ว รวมถึงสามารถระบุตำแหน่งที่ตนเองอยู่ได้ทันที ไม่ต้องคอยโทรศัพท์และแลกข้อมูลการส่งหรือการสั่งหน้าพิซซ่าอย่างยากเย็นอีกต่อไป ซึ่งสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกาที่ พิซซ่า นั้นเทียบเท่ากับ อาหารตามสั่ง” ของคนไทยโดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นแล้ว บริการนี้จึงเทียบเท่ากับ ข้าวกล่อง On-Demand ที่คลิกเดียวก็อิ่มแล้วเลยทีเดียว

Macintosh HD:Users:lertad:Dropbox (Flyingcomma):My Briefcase:SM Magazine:Startup Markup:16 - push for pizza.png

นอกจากนี้ ยังมีบริษัท Startup ประเภท Uber for X อีกมากมาย อาทิ

Unwind Me” — Uber for Massage: ให้บริการ การนวด แบบ On-Demand” ด้วยการเชื่อม หมอนวด กับ ลูกค้า” โดยแทนที่ลูกค้าจะต้องคอยไปหาร้านนวดที่เราก็ไม่รู้ว่าจะนวดดีหรือไม่นั้น ก็สามารถเรียกให้หมอนวดมาหาถึงที่ได้เลย โดยหมอนวดเหล่านั้นเป็นคนที่ผ่านการอบรมและคัดเลือกมาจากทาง Unwind Me อย่างเรียบร้อย มีการให้คะแนนความสามารถจากลูกค้าคนอื่นๆ และมาพร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นหากเราไม่มีอีกด้วย

Homejoy” และ Exec” — Uber for Home Cleaning: ส่ง แม่บ้าน” มาทำความสะอาดบ้านเราให้ถึงที่เหมือนกัน โดยทำตัวเป็น ตลาดกลาง” ให้ผู้ให้บริการทำความสะอาดบอกช่วงเวลาที่ให้บริการของตนเอง พร้อมประวัติและความสามารถในการให้บริการ เพื่อให้ผู้ต้องการบริการสามารถเรียกมาทำความสะอาดบ้านหรือออฟฟิศได้ในทันที ภายในอัตราชั่วโมงละ $20 เท่านั้น

Macintosh HD:Users:lertad:Dropbox (Flyingcomma):My Briefcase:SM Magazine:Startup Markup:Homejoy.gif

Instacart — Uber for Grocery Shopping: ให้บริการส่งสินค้าจากซุปเปอร์มาร์เก็ตถึงบ้าน เหมาะสำหรับส่งสินค้าที่ใช้หมดเป็นช่วงๆอย่างเช่นทิชชู่ น้ำยาทำความสะอาดบ้าน หรือแม้กระทั่งพืชผักผลไม้สำหรับทานหรือทำกับข้าว

Bannerman — Uber for Security: ให้บริการ บอดี้การ์ด หรือ รปภ.” มืออาชีพมาดูแลบ้านหรือร้านค้าเฉพาะวันและช่วงเวลาที่ต้องการ เหมาะสำหรับเวลารู้สึกไม่ปลอดภัย หรือมีงานพิเศษ แต่ไม่ได้ต้องการผู้รักษาความปลอดภัยอย่างถาวร

Washio — Uber for Dry Cleaning: ส่งพนักงานมารับเสื้อผ้าสำหรับการซักรีด เพื่อนำไปซักพร้อมคืนถึงที่เมื่อเสร็จ

Postmates — Uber for Courier Services: ส่งพนักงาน เมซเซนเจอร์” ให้ส่งเอกสาร เก็บบิล รับเช็ค ไปจนถึงการสั่งอาหารจากร้านค้าต่างๆ เพื่อนำมาส่งถึงที่บ้านหรือที่ทำงาน

TaskRabbit — Uber for Home Tasks: ช่วยทำความสะอาด ย้ายบ้าน หรืองานซ่อมแซมบ้านเล็กๆน้อยๆ แม้กระทั่งการช่วยต่อเฟอร์เนิเจอร์สำเร็จรูป

Macintosh HD:Users:lertad:Downloads:temp:Screen Shot 2558-02-28 at 18.38.02.png

และอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถหาได้จากเว็บอย่าง
http://www.quora.com/What-startups-are-working-on-Uber-for-X

http://www.producthunt.com/e/uber-for-x

จะห็นว่าบริการ On-Demand” ทั้งหมดนี้ ส่วนใหญ่แล้วมักจะส่วนผสมของการ 1) สร้างตลาด เชื่อมผู้ขายหรือผู้ให้บริการเข้าหาผู้ต้องการซื้อ 2) การสร้างความน่าเชื่อถือและความโปร่งใส ด้วยระบบการรีวิวทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ และ 3) ความง่ายในการเรียกใช้บริการและความเร็วในการได้รับบริการ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะสามารถมาหาได้ทันทีหรือภายในวันเดียวกันหากต้องการ หรือจองล่วงหน้าก็เป็นได้

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับเหล่าบริษัทสไตล์ Uber for X” ทั้งหมดนี้ ก็คือทาง Uber เองที่น่าจะเล็งทำธุรกิจบางตัวไว้อยู่เหมือนกัน เพราะจากที่ในตอนแรก Uber ใช้ชื่อว่า “UberCab” ที่หมายถึง รถแท็กซี่ที่ดีกว่า แต่กลับเปลี่ยนชื่อมาเป็น Uber” เฉยๆ อย่างรวดเร็ว เพราะทาง Travis Kalanick ที่เป็น CEO ของ Uber นั้นได้เห็นภาพบริษัทตัวเองเป็น “Lifestyle” และ Logistics” ไว้อย่างชัดเจน โดยเขานิยาม Lifestyle” ไว้ว่า “give me what I want, and give it to me right now” หรือ “ให้สิ่งที่ฉันต้องการในตอนนี้เลย

ซึ่งหมายความว่า จากสิ่งที่ Uber ทำตอนนี้ที่เป็นการ ส่งรถ หาคุณภายในเวลาไม่กี่นาที เขาต้องการที่จะต่อยอดไปสู่การส่งอะไรอย่างอื่นอีกหลายๆอย่างภายในเวลาเดียวกันเช่นกัน โดยแม้เขาจะไม่ยอมบอกว่า Uber จะขยายตัวไปสู่ธุรกิจอะไร แต่ก็ใบ้ไว้ว่าเขาต้องการจะเป็น “on-demand service for everything” และในปีที่ผ่านมา ก็ได้เปิดบริการ Uber RUSH” ในเมืองนิวยอร์คเพื่อให้บริการการส่งของเรียบร้อยแล้ว

Macintosh HD:Users:lertad:Dropbox (Flyingcomma):My Briefcase:SM Magazine:Startup Markup:16 - Uber Rush.png

จะเห็นได้ว่า จากที่เราเริ่มคุ้นชินกับการใช้อินเทอร์เน็ตในการดาวน์โหลดหรือเรียกดูข้อมูลที่สามารถอยู่ในรูปแบบดิจิตอลในเวลาทันทีแล้ว อนาคตของเรากำลังมุ่งไปสู่การได้สินค้าและบริการที่เป็นกายภาพจับต้องได้ในเวลาอันรวดเร็วไม่แพ้กันอีกด้วย

สำหรับประเทศไทยที่มีเมืองหลวงที่มีสภาพการจราจรที่ติด ทำให้ไปไหนมาไหนลำบาก แต่มีกำลังจ่ายและการเข้าถึงสมาร์ทโฟนที่สูงอย่างกรุงเทพฯแล้ว ผมคิดว่าเหล่าผู้ประกอบการน่าจะหันมามองโอกาสในการสร้างบริการ On-Demand” หรือ Uber for X” เหล่านี้กันบ้างนะครับ

–-

เลอทัด ศุภดิลก

@lertad

lertad@sellsuki.com

Up next The Evolution of Thai (E)-commerce วิวัฒนาการพฤติกรรมการซื้อขายของออนไลน์ ปี พศ. 2558 นี้ทุกสถิติกำลังชี้ว่าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว Social Commerce Startups
Latest posts GDPR คืออะไร และส่งผลกระทบอะไรต่อธุรกิจ “Fintech” คืออะไร? ตอนที่ 1 - M-Pesa ตัวอย่างความสำเร็จของระบบการเงินดิจิตอล The New Disuptive Technologies: 2018 & Beyond การปรับกลยุทธ์ครั้งยิ่งใหญ่ ครั้งใหม่ของ Facebook Startup Tech Trends 2018 - เมื่อเทรนด์ 2017 จะแพร่หลายในปี 2018 “HQ Trivia” - The Future of TV เกมฮิตใหม่ที่อาจเป็นตัวอย่างของรายการทีวีในอนาคต Facebook Ads vs. Google Ads การต่อสู้ระหว่าง “Search” กับ “Discovery” Just Jack - Annabel’s Dilemma Bitcoin คืออะไร และทำไมมันถึงได้รับความสนใจ วิธีเริ่มต้นแบบเล็กๆของเหล่า Startup Unicorn มูลค่าพันล้าน The Fundamentals of AI - Machine Learning, Neural Network, Deep Learning - พื้นฐานแนวคิดของ “AI” ในยุคปัจจุบัน The WeChat Economy - มองเทรนด์ “Tech Startup” อนาคต จากการใช้ “WeChat” ในประเทศจีน การพลิกโฉม ”วิธีการซื้อ″ ด้วยนวัตกรรมจาก Amazon - How Amazon is Re-inventing How We Buy AliPay - เครื่องมือครองโลกของ Jack Ma ที่คุณอาจคาดไม่ถึง - Jack Ma’s Strategy to Conquer the World ทิศทางการเติบโตของ ”ห้างออนไลน์″ ในประเทศไทย - The Future of Marketplaces in Thailand Digital Transformation : จากการบริโภค Product สู่ Service Fast Growing Silicon Valley Startups 2017 - เทรนด์ Startup จาก Silicon Valley ที่จะมาแรงในปี 2017 การปฏิวัติข่าวสารจากยุค Google สู่ Facebook Status Seekers เมื่อผู้บริโภคต้องการ “สถานะ” มากยิ่งกว่า “การแก้ปัญหา” The Different Types of Conversational Commerce Online to Offline 31 The Future of Apps Pirate Metrics for Startups (AARRR) The Rise of Chat Bots E-commerce Delivery in Thailand Conversational Commerce Solar Energy Startups Facebook Thailand Startup = การเติบโตที่รวดเร็ว (Growth) Startup Investment The Future of Messaging